วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Cartoon











ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส

ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส หรือ ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส เจ้าชายลูกสักหลาด (ชื่อในฉบับอะนิเมะ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวกีฬาเทนนิสแต่งโดย ทาเคชิ โคโนมิ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ปัจจุบันมีฉบับรวมเล่มออกมาถึงเล่ม 42 เล่มจบ หลังจากลงตีพิมพ์ได้ไม่นานก็ได้รับความนิยมอย่างสูงจนถูกสร้างเป็นอะนิเมะ เกม ละครเพลง และภาพยนตร์ และเมื่อไม่นานมานี้ อ.ทาเคชิ โคโนมิ ได้ประกาศหลังจากจบ เดอะ ปริ้น ออฟ เทนนิสซี่รี่ย์แรกของเขา ว่าจะเขียนซี่รี่ย์ยาวเป็นภาคต่อของ เดอะ ปริ้น ออฟ เทนนิส เป็นภาคที่สองที่จะได้ออกสู่สายตาชาวญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมปี2552นี้ในญี่ปุ่นจะเรียกชื่อย่อของการ์ตูนเรื่องนี้ว่า เทนิปุริ (テニプリ) หรือย่อว่า PoT ส่วนในไทยจะนิยมเรียกย่อว่า ปริ๊นซ์ สำหรับลิขสิทธิ์ DVD และ VCD ในประเทศไทยโดยบริษัท TIGA จำกัด

ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส ฉบับภาพยนตร์ ไลฟ์แอกชัน

ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส ฉบับภาพยนตร์ กำกับโดย ยูอิจิ อาเบะ และออกฉายในญี่ปุ่นวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จัดจำหน่ายโดย โชจิกุฟิล์ม โดยมีการจัดทำออกมาในฉบับภาษาญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว นำแสดงโดย ฮงโฮ คานาตะ (เรียวมะ) และ ชิโรตะ ยู (คุนิมิตซึ)
เรื่องราวของในฉบับภาพยนตร์จะดัดแปลงจากฉบับมังงะโดยมีเนื้อหาที่สั้น โดยเรื่องราวเริ่มต้นจากที่เรียวมะเข้ามาเรียนที่เซชุน และได้แข่งขันกับฟุโดมิเนะ โดยได้ข้ามส่วนที่แข่งกับเซนต์รูดอล์ฟและยามาบุกิไป โดยสุดท้ายได้แข่งกับโรงเรียนเฮียวเท ซึ่งในนัดสุดท้ายนั้นผลการแข่งขันของเซชุนและเฮียวเทคือ ชนะสอง แพ้สอง และเสมอหนึ่ง ทำให้เรียวมะเป็นคนสุดท้ายที่จะมาแข่งขันตัดสินกับฮิงะกิ (ตัวละครพิเศษเฉพาะในฉบับภาพยนตร์) ในรอบพิเศษและชนะไปลักษณะที่ดัดแปลงของฉบับภาพยนตร์คือโค้ชของเซชุน ริวซากิ สุมิเระ ในฉบับภาพยนตร์จะเป็นหญิงสาวแทนที่จะเป็นคุณป้า (แสดงโดย
ฮิโตมิ ชิมาทานิ) ซึ่งส่งผลให้ไม่มีตัวละคร ริวซากิ ซากุโนและในขณะนี้ลิขสิทธิ์ DVD และ VCD ในประเทศไทยโดยบริษัท TIGA จำกัด


เรื่องย่อ

เอจิเซ็น เรียวมะย้ายเข้ามาเรียนที่มัธยมต้นโรงเรียนเซชุนหรือในภาษาญี่ปุ่นคือ"เซซุน งาคุเอน"(青春学園, Seishun Gakuen) หรือเรียกสั่นๆว่า"เซงาคุ"(Seigaku 青学) โรงเรียนดังที่มีชื่อเสียงด้านเทนนิส เป็นหนุ่มน้อยอัจฉริยะ แชมป์ 4 สมัยซ้อนในการแข่งขันรุ่นจูเนียร์ของอเมริกา เรียวมะเข้าชมรมได้ไม่ทันไร ก็ไต่เต้าขึ้นเป็นนักกีฬาตัวจริงที่เป็นเด็กปี 1 คนแรกในชมรม ภายหลังจากได้เป็นตัวแทนแล้วได้ไปร่วมแข่งขันของโรงเรียนไปแข่งในระดับเขต และในรอบชิงชนะเลิศได้เจอกับโรงเรียนฟุโดมิเนะ
จบการแข่งขันโรงเรียนเซชุนได้เป็นตัวแทนแข่งขันในระดับโตเกียวร่วมกับโรงเรียนฟุโดมิเนะ โดยมีโรงเรียนทั้งหมด 108 โรงเรียนร่วมแข่งขัน การแข่งขันได้แบ่งออกเป็น 4 บล็อก โดยโรงเรียนเซชุนได้เจอกับโรงเรียนเซนต์รูดอล์ฟ ในขณะที่ฟุโดมิเนะเจอกับโรงเรียนเฮียวเทใน ในรอบแปดทีมสุดท้าย

Music




เพลง Big Big World
ศิลปิน Emilia
I'm a big big girl
ฉันเป็นเพียงเด็กหญิงตัวใหญ่ๆคนนึง
in a big big world
อยู่ในโลกที่กว้างใหญ่
It's not a big big thing if you leave me
มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอกน่ะ ถ้าคุณจะทิ้งฉัน
but I do do feel that
แต่ว่าฉันยังคงรู้สึกว่า
I do do will miss you much
ฉันคงจะคิดถึงคุณมาก
miss you much...
คิดถึงคุณมาก...
I can see the first leaves falling
ฉันสามารถเห็นใบไม้ร่วงหล่น
it's all so yellow and nice
มันเป็นสีเหลืองทั้งหมดและสวยงาม
It's so very cold outside
ข้างนอกนั่นหนาวมากเลยล่ะ
like the way I'm feeling inside
เหมือนกับความรู้สึกที่รู้สึกอยู่ภายใน

I'm a big big girl
ฉันเป็นเพียงเด็กผู้หญิงตัวใหญ่ๆ
in a big big world
อยู่ในโลกที่กว้างใหญ่
It's not a big big thing if you leave me
มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอกน่ะ ถ้าคุณจะทิ้งฉัน
but I do do feel that
แต่ว่าฉันยังคงรู้สึกว่า
I do do will miss you much
ฉันจะคิดถึงคุณมาก
miss you much...
คิดถึงคุณมาก

Outside it's now raining
ตอนนี้ข้างนอกฝนกำลังตก
and tears are falling from my eyes
และน้ำตามันก็ได้ร่วงหล่นจากดวงตาของฉัน
why did it have to happen
ทำไมมันต้องเกิดขึ้น
why did it all have to end
ทำไมสิ่งทั้งหมดต้องจบลง


I'm a big big girl
ฉันเป็นเพียงเด็กผู้หญิงตัวใหญ่ๆ
in a big big world
อยู่ในโลกที่กว้างใหญ่
It's not a big big thing if you leave me
มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอกน่ะ ถ้าคุณจะทิ้งฉัน
but I do do feel that
แต่ว่าฉันยังคงรู้สึกว่า
I do do will miss you much
ฉันจะคิดถึงคุณมาก
miss you much...
คิดถึงคุณมาก...


I have your arms around me warm like fire
ฉันมีอ้อมแขนของคุณรอบตัวฉัน อบอุ่นราวกับไฟ
but when I open my eyes
แต่เมื่อ ฉันลืมตาทั้งสองขึ้นมา
you're gone...
คุณก็จากไปแล้ว...

I'm a big big girl
ฉันเป็นเพียงเด็กผู้หญิงตัวใหญ่ๆ
in a big big world
อยู่ในโลกที่กว้างใหญ่
It's not a big big thing if you leave me
มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอกน่ะ ถ้าคุณจะทิ้งฉัน
but I do do feel that
แต่ว่าฉันยังคงรู้สึกว่า
I do do will miss you much
ฉันจะคิดถึงคุณมาก
miss you much...
คิดถึงคุณมาก..

I'm a big big girl
ฉันเป็นเพียงเด็กผู้หญิงตัวใหญ่ๆ
in a big big world
อยู่ในโลกที่กว้างใหญ่
It's not a big big thing if you leave me
มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอกน่ะ ถ้าคุณจะทิ้งฉัน
but I do do feel that
แต่ว่าฉันยังคงรู้สึกว่า
I do do will miss you much
ฉันคงจะคิดถึงคุณมาก
miss you much...
คิดถึงคุณมาก...

Love !



ความรักของพ่อแม่


การเดินทางร่วมกันของเราในวัฏสงสารมีทั้งรักกัน เกลียดกัน ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้างเหล่านี้คือกรรมที่ทำสะสมไว้ซ้ำๆ ซากๆกรรมดีหรือนิสัยที่ดี เป็นการสร้างบารมีกรรมชั่ว นิสัยที่ไม่ดี สะสมเป็นอาสวะ กิเลส การที่เราเกิดมาในท้องแม่ ถือเป็นกรรมเก่าผลของกรรมเก่าที่สร้างสมไว้เปรียบเหมือนเมล็ดพืชการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และการเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นปัจจัยหรือเปรียบเหมือน ปุ๋ย ดิน น้ำ แสงแดดที่ช่วยบำรุงเลี้ยงเมล็ดพืชให้งอกงาม อย่างไรก็ตาม เด็กทารกทุกคนคือผู้บริสุทธิ์การเลี้ยงดูของพ่อแม่ด้วยความรักความเมตตา จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข ตรงกันข้าม เด็กที่เกิดมาอย่างขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว ยากที่จะมีจิตใจที่ดีได้มักมีปัญหาทางใจ เป็นคนขี้น้อยใจ ขี้อิจฉาริษยา ขี้กลัว ขี้โกรธ ขี้ตกใจ ฯลฯ เรียกว่า จิตใจไม่สมบูรณ์ ความรักจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ทุกคนต้องการความรักจากพ่อแม่ญาติพี่น้อง และบุคคลที่อยู่รอบข้างเราจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัยและสุขใจ เมื่อได้รับความรักความรักจึงทำให้มนุษย์มีจิตใจที่สมบูรณ์ ชีวิตของเราเริ่มสัมผัสกับความรักได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ อาหารถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านสายสะดือ ความรู้สึกนึกคิดของแม่ก็ถ่ายทอดถึงจิตใจของลูกผ่านสะดืออารมณ์ได้เหมือนกัน ดังนั้น การทำหน้าที่แม่ที่ดีไม่เพียงแต่รักษาร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้นหากต้องรักษาอารมณ์และจิตใจที่ดีด้วยโดยการรักษาศีล ภาวนา คิดดี พูดดี ทำดีญาติพี่น้อง บุคคลรอบข้างก็ควรให้ความรักความเมตตา ให้กำลังใจ แก่ผู้ที่กำลังจะเป็นแม่ ตามหลักจิตวิทยาเชื่อว่า จิตใจของเด็กมีความละเอียดอ่อน ซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดูเด็กในช่วงอายุ ๓-๔ ขวบ จะเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะมีผลต่อการกำหนดจริตนิสัย พฤติกรรมของเด็กในเวลาต่อมาเด็กที่ได้รับความรัก จะมีความรู้สึกอบอุ่นมีความมั่งคงทางอารมณ์ และเติบโตขึ้นมามีความสุข เด็กที่ขาดความรัก ถูกทอดทิ้ง จะรู้สึกมีปมด้อยขี้น้อยใจ ขี้อิจฉาริษยา ขี้กลัว เป็นต้นความรักที่พอเหมาะพอดี จึงเป็นเรื่องสำคัญ



ความรัก....แบบเพื่อนเพื่อนแท้




เพื่อนทั่วไปไม่เคยเห็นคุณร้องไห้

เพื่อนแท้มีหัวไหล่ไว้คอยซับน้ำตาคุณ

เพื่อนทั่วไปจะไม่รู้ชื่อพ่อแม่ของคุณ

เพื่อนแท้จะมีเบอร์ของท่าน ไว้ในสมุดจดโทรศัพท์ของเขา

เพื่อนทั่วไปจะถือขวดไวน์ติดมือมางานปาร์ตี้ของคุณ

เพื่อนแท้จะมาแต่วัน เพื่อช่วยเตรียมงาน

เพื่อนทั่วไปอยากคุยกับคุณถึงปัญหาของเขา

เพื่อนแท้อยากช่วยปัดเป่าปัญหาของคุณออกไป

เพื่อนทั่วไปจะพิศวงในเรื่องโรแมนติกเก่าๆ

เพื่อนแท้สามารถเอาเรื่องนี้มาอำคุณได้

เพื่อนทั่วไปเวลามาเยี่ยมคุณจะทำตัวเยี่ยงแขก

เพื่อนแท้จะตรงรี่ไปเปิดตู้เย็นและบริการตนเอง

เพื่อนทั่วไปคิดว่ามิตรภาพจบลงเมื่อเกิดการทะเลาะถกเ ถียง

เพื่อนแท้รู้ดีว่านั่นจะมิใช่มิตรภาพ จนกว่าคุณได้เคยวิวาทกัน

เพื่อนทั่วไปคาดหวังให้คุณอยู่เคียงข้างเขาเสมอ

เพื่อนแท้คาดหวังที่จะอยู่เคียงคุณตลอดไป

เพื่อน ทั่วไปจะอ่านข้อความนี้แล้วโยนลงถังขยะ

เพื่อนแท้จะเฝ้าส่งต่อๆไป จนกว่าจะมั่นใจว่ามันได้ถึงมือผู้รับ

ส่งผ่านให้ใครก็ได้ที่คุณห่วงใย หากคุณได้รับมันกลับมา

นั่นหมายว่าคุณได้พบเพื่อนแท้แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเมือง


สังคมการเมืองไทย





การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย คณะราษฎร ซึ่งนำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดในการเมืองการปกครองของไทย เพราะเป็นการเปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญมีเป้าหมายจะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นหลักในการปกครอง

เมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จแล้ว ก็มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก แม้จะเป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวก็ตาม และหลักจากนั้นประเทศไทยก็ปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักมาโดยตลอด แม้จะมีการยุบเลิกรัฐธรรมนูญบ้างก็เป็นการชั่วครั้งชั่วคราว ในที่สุดก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาทดแทนเสมอไป คงกล่าวได้ว่า การปกครองของไทยนั้นพยายามที่จะยึดหลักการปกครองโดยกฎหมาย คือ ให้มีบทบัญญัติ กฎเกณฑ์ กติกาที่แน่นอนเป็นแนวทางในการปกครอง

ประเทศไทยมีการใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 รวมแล้ว 14 ฉบับ ทุกฉบับจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขึ้น แม้บทบัญญัติของธรรมนูญแต่ละฉบับ จะเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ตามหลักสากล เช่น ในทุก
ฉบับจะต้องมีสมาชิกรัฐสภาประเภทแต่งตั้งเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยร่วมกันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจาการเลือกตั้งอยู่เสมอ รัฐสภาบางสมัยมีสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด เป็นต้น ก็เป็นเพราะเหตุผลและความจำเป็นบางประการตามสถานการณ์ในขณะนั้น

การปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับประกาศเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนว่าต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งอาจวิเคราะห์แยกแยะหลักการสำคัญๆ ของการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยได้ดังนี้
1. อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับ กำหนดอำนาจอธิปไตยซึ่งถือเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครอง ให้มีการแบ่งแยกการใช้ออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจในการออกกฎหมาย อำนาจบริหาร หรืออำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้ และบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนและอำนาจตุลาการ หรืออำนาจในการตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น องค์กรที่ใช้อำนาจทั้ง 3 ส่วนนี้ คือ รัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และ ศาล เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ โดยใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ การกำหนดให้มีการแยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วน และให้มีองค์กร 3 ฝ่าย รับผิดชอบไปองค์กรแต่ละส่วนนี้ เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ที่ไม่ต้องการให้มีการรวมอำนาจแต่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าให้องค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจมากกว่าหนึ่งส่วนแล้วอาจเป็นช่องทางให้เกิดการใช้อำนาจแบบเผด็จการได้ เช่น ถ้าให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คณะรัฐมนตรีก็อาจจะออกกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และนำกฎหมายนั้นไปบังคับใช้เพื่อประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว การแยกอำนาจนั้นเป็นหลักประกันให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน
และป้องกันการใช้อำนาจเผด็จการ

2. รูปของรัฐ ประเทศไทยจัดว่าเป็นรัฐเดี่ยว รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกำหนดไว้ว่า ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ศูนย์อำนาจทางการเมืองและการปกครองมาจากแหล่งเดียวกัน ประชาชนทั้งหมดอยู่ภายใต้เอกรัฐ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามอำนาจหนึ่งอำนาจเดียว พร้อมทั้งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายเดียวกัน การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง
ประเทศ การปกครองภายในประเทศ แม้จะมีการแบ่งอำนาจการปกครองไปตามเขตการปกครอง เช่น จังหวัด อำเภอ ก็เป็นเพียงการแบ่งอำนาจตามลักษณะการปกครองส่วนภูมิภาค เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในส่วนกลางและความสะดวกของประชาชนในการรับบริการจากรัฐ อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง หน่วยงานในภูมิภาคเป็นเพียงผู้รับเอาไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่สามารถที่จะกำหนดการดำเนินการในความรับผิดชอบของตนโดยอิสระ

การปกครองระดับท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล รวมทั้งการปกครองรูปกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยานั้น แม้จะมีอิสระพอสมควรในการดำเนินการ และมีการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง มีลักษณะในการกระจายอำนาจ การปกครองแต่ก็ยังไม่เป็นอิสระหรือการปกครองตนเองอย่างแท้จริง รัฐบาลในส่วนกลางยังมีส่วนเข้าไปควบคุมหรือร่วมในการดำเนินการอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามการปกครองระดับท้องถิ่นนี้มีส่วนในการฝึกประชาชน ให้รู้จักการปกครอง
ตนเองตามหลักการประชาธิปไตย

3. ประมุขแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองไว้ว่าเป็น แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จำมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยปกติ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนโดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้ หมายความว่าอำนาจต่างๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ซึ่งในความเป็นจริงอำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่างๆ นั้นจึงเป็นการเฉลิมพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กร ที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

ย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมือง และกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติการทางการปกครองทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีพระราชอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญและเป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริงๆ ได้แก่ การตั้งคณะองคมนตรี การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น

พระราชอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง คือ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภามาแล้ว และนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ ก็อาจใช้พระราชอำนาจยับยั้งเสียก็ได้ ซึ่งรัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม่ แต่ในทางปฏิบัติไม่ปรากฏว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนี้

4. สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน รัฐธรรมนูญได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้อย่างกว้างขวาง สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นี้เป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตย คือ มีการระบุสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ไว้ครบครัน เช่น เสรีภาพในการแสดงออกในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม เป็นต้น รวมทั้งมีหลักประกัน ในเรื่องสิทธิต่างๆ คือ การละเมิดสิทธิจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญมีข้อจำกัดในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ คือ จะต้องไม่ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ส่วนหน้าที่ของชนชาวไทยทุกคนตามรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
(1) บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้
(2) บุคคลมีหน้าที่ที่จะใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
(3) บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
(4) บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
(5) บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(6) บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
(7) บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ
(8) บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
(9) บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์และป้องกันศิลปและวัฒนธรรมของชาติ
(10) บุคคลมีหน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ

5. การปกครองแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูฐกำหนดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา คือ ให้มีรัฐสภาเป็นหลักในการปกครอง ซึ่งนอกจากทำหน้าที่พิจารณาบัญญัติกฎหมาย และเป็นตัวแทนแสดงเจตนารมณ์แทนประชาชน แล้ว ยังเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการคัดเลือกนายกรัฐมนตรี และควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล

5.1 องค์ประกอบของรัฐสภา รัฐสภาไทยเคยมีใช้ทั้งระบบสภาเดียวและระบบ 2 สภา แต่รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่รวมทั้งฉบับปัจจุบันมักใช้ระบบ 2 สภา คือ มีวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีลักษณะและหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. วุฒิสภา สมาชิกประกอบด้วยบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีซึ่งเท่ากับให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกสรร วุฒิสภาทำหน้าที่เป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ คอยกลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาและตัดสินปัญหาสำคัญๆ ของประเทศ เช่น การสถาปนาพระมหากษัตริย์ การประกาศสงคราม เป็นต้น จำนวนของวุฒิสมาชิกขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญกำหนดแต่ส่วนใหญ่มักกำหนดเป็นสัดส่วน และน้อยกว่าจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กำหนดให้มี 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระในการดำรงตำแหน่งของวุฒิสมาชิก คือ 4 ปีอย่างไรก็ตามที่มาของวุฒิสมาชิกอาจได้มาโดยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ
2. สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เว้นแต่จะมีการยุบสภาก่อนครบวาระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจนิติบัญญัติ
วุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย แม้ว่าฝ่ายแรกจะมาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายหลังมาจากการเลือกตั้ง แต่การใช้อำนาจนิติบัญญัตินั้นเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้วจะเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมีมากกว่า เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติแต่วุฒิสมาชิกไม่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคล แต่วุฒิสมาชิกไม่มี ส่วนอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วของวุฒิสภาก็ไม่ใช่อำนาจเด็ดขาด เพราะถ้าสภาผู้แทนราษฎร โดยที่มีเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยังยืนยันตามเดิม ก็ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญบางฉบับก็กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นบางฉบับก็ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ในตอนแรกกำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา แต่ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ทั้งนี้ให้บังคับใช้หลังมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
5.2 หน้าที่ของรัฐสภา รัฐสภาเป็นสถาบันตัวแทนแสดงเจตนารมณ์แทนประชาชน มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. การบัญญัติกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา คือ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แต่การเสนอโดยคณะรัฐมนตรีจะทำได้ง่ายกว่า ดังตัวอย่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดว่า ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอจะต้องได้รับมติเห็นชอบจากพรรคการเมืองที่ผู้เสนอสังกัดอยู่ และมี ส.ส. พรรคเดียวกันลงชื่อร่วมสนับสนุน อีกอย่างน้อย 20 คน การพิจารณาจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณาก่อน หากเห็นชอบให้เสนอต่อวุฒิสภาให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วย ถือว่าผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยก็จะใช้สิทธิยับยั้ง ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาใหม่ หากยืนยันความเห็นเดิมโดยมติที่มีเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกก็ถือว่า พระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติใดหากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย ก็ไม่สามารถที่จะเป็นกฎหมายขึ้นมาได้
2. ควบคุมฝ่ายบริหาร รัฐสภามีหน้าที่ควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรีทำได้หลายวิธี คือ
1. การพิจารณานโยบายของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีก่อนเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะดำเนินการบริหารประเทศอย่างไร ปกติรัฐสภาจะพิจารณาและลงมติว่า สมควรให้ความเห็นชอบไว้วางใจหรือไม่ หากไม่ให้ความไว้วางใจ รัฐบาลก็ต้องลาออก แต่ปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญ กำหนดให้รัฐสภาเพียงแต่รับฟังและอภิปรายแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ไม่มีการลงมติ
2. การตั้งกระทู้ถาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐบาล หรือรัฐมนตรีรายบุคคล เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือเรื่องที่อยู่ในหน้าที่ แต่รัฐบาลหรือรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบ ถ้าเห็นว่าเรื่องที่ตั้งกระทู้นั้นเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดินที่ยังไม่ควรเปิดเผยการตอบกระทู้ถามในแต่ละสภาอาจตอบในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ถาม
3. การยื่นญัติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะในกรณีที่เห็นว่าดำเนินการบริหารเป็นผลเสียต่อส่วนรวม ปกติการอภิปรายและลงมตินั้นกระทำในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น มติไม่ไว้วางใจจะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรจึงจะมีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญ
การควบคุมฝ่ายบริหารโดยการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปนี้ถือว่าเป็นวิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่สุด และจุดประสงค์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้เปิดได้ไม่ยากนัก เพื่อให้ ส.ส. มีโอกาสตรวจสอบการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี จะเห็นได้จากการกำหนดจำนวน ส.ส. ที่จะยื่นญัตติไว้เพียง 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดแม้ว่าในการเปิดอภิปรายแต่ละครั้ง เมื่อลงมติกันแล้ว คะแนนไม่ไว้วางใจมักจะไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.เพราะการลงคะแนนจะเป็นไปตามระบบพรรค ฝ่ายรัฐบาลจะมี ส.ส. เกินครึ่งอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีผลที่จะทำให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งด้วยมติ แต่เนื้อหาถ้อยความในการอภิปรายนั้นจะได้รับการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบทำให้ผู้ถูกอภิปรายอาจเสียคะแนนนิยมได้ ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในการตอบโต้ข้อบกพร่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปราย อย่างไรก็ตาม ส.ส. แต่ละคน จะมีสิทธิลงชื่อในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายนี้เพียงสมัยประชุมละครั้งเดียว
6. คณะรัฐมนตรี รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และต้องรับผิดชอบร่วมกันในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎร หมายความว่า สภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิที่จะควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรี เพราะสภาผู้แทนราษฎรเป็นสถาบันตัวแทนแสดงเจตจำนงของประชาชน ถ้าเห็นว่า คณะรัฐมนตรีดำเนินการบริหารบกพร่องหรือไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนก็อาจเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะมีผลให้รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งไป
เมื่อรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาควบคุมรัฐบาล ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลมีสิทธิควบคุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย เป็นการถ่วงดุลแห่งอำนาจ ไม่ให้ฝ่ายใดมีอำนาจมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเกินไปเครื่องมือควบคุมสภาผู้แทนราษฎรคือ การยุบสภา นายกรัฐมนตรีมีสิทธิทูลเกล้าฯ เสนอเพื่อพระมหากษัตริย์ ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาได้ การยุบสภา คือ การให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน เพราะฉะนั้นใน กรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องระมัดระวังบทบาทพอสมควรเช่นกัน เพราะแทนที่รัฐบาลจะเลือกเอาการลาออกหรือยอมให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลอาจเลือกเอาการยุบสภามาใช้ก็ได้ โดยปกติตามหลักการประชาธิปไตย เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น รัฐบาลตราพระราชกำหนดออกมาบังคับใช้ แต่สภาสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เป็นต้น เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น ปกติรัฐบาลจะลาออกเมื่อเห็นว่าในข้อขัดแย้งนั้นประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปิดโอกาสให้สภาผู้แทนราษฎรจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และรัฐบาลจะยุบสภาในกรณีที่เห็นว่าประชาชนสนับสนุนรัฐบาลมากกว่ารัฐสภา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนรัฐบาลต่อไป เรื่องยุบสภานี้เป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภาแต่อย่างใด

6.1 องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีร่วมคณะ อีกจำนวนไม่เกินที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ให้มีรัฐมนตรีไม่เกิน 48 คน นอกเหนือจากนายกรัฐมนตรี ปกตินายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกนายกรัฐมนตรีนั่นเอง และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้คัดเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะซึ่งการคัดเลือกมักจะต้องคำนึงถึงเสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก เพราะรัฐบาลต้องได้รับเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุน การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในการแต่งตั้งรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง
พระบรมราชโองการ
6.2 อำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี อำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมีหลายประการ ได้แก่ อำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภา การตราพระราชกำหนด การตราพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีได้รับการกำหนดให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน นอกจากนี้ในฐานะเป็นรัฐบาล คณะรัฐมนตรีต้องทำหน้าที่ประสานงาน ระหว่างกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ วางระเบียบข้อบังคับให้กระทรวง ทบวง กรม ถือปฏิบัติและพิจารณาลงมติเรื่องต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรมเสนอมาและยังมีอำนาจหน้าที่อีกหลายประการที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่นๆ
7. ตุลาการ อำนาจตุลาการหรืออำนาจในการตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย อำนาจนี้เป็นของศาลยุติธรรมทั้งหลาย เป็นอำนาจที่สำคัญที่สุดอำนาจหนึ่ง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น ฝ่ายตุลาการจึงต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย สำหรับการปกครองไทย หลักประกันสำหรับตุลาการที่จะมีอิสระในการวินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลจากฝ่ายอื่นที่บีบบังคับเปลี่ยนคำพิพากษา คือ กำหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวงการตุลาการทั้งสิ้น ทั้งจากการเลือกตั้งโดยตุลาการด้วยกัน และโดยตำแหน่ง มีประธานศาลฎีกาเป็นประธานคณะกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง
คณะกรรมการตุลาการเป็นองค์กรอิสระในการดำเนินการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่งและเลื่อนเงินเดือนผู้พิพากษา หมายความว่า การให้คุณให้โทษกับผู้พิพากษานั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตุลาการ ฝ่ายบริหารหรือรัฐมนตรีจะดำเนินการตามใจชอบไม่ได้ การกำหนดเช่นนี้ทำให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถใช้อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินคดีของผู้พิพากษาได้ และทำให้อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอิสระ สามารถที่จะถ่วงดุลกับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารได้ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
8. ตุลาการรัฐธรรมนูญ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ในการปกครองของไทยจะเห็นได้จากการจัดตั้งให้มี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบพิจารณาว่า การกระทำหรือกฎหมาย ที่ยกร่างขึ้นนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดหรือแย้งก็กระทำไม่ได้หรือเป็นโมฆะ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติสูงสุด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธาน ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ หรือ รัฐศาสตร์อีก 6 คน ที่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งมาสภาละ 3 คน (ซึ่งจะต้องไม่ได้เป็นสมาชิกสภาทั้งระดับรัฐและท้องถิ่น ข้าราชการประจำพนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานท้องถิ่น) ร่วมเป็นกรรมการด้วย ผู้มีสิทธิร้องขอให้คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาการกระทำใดๆ หรือร่างพระราชบัญญัติ และกฎหมายที่ใช้บังคับคดีว่าขัดแย้งต่อบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ คือ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภา (ตามจำนวนและเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด) และศาล
9. การปกครองท้องถิ่น การปกครองของไทยให้ความสำคัญต่อการปกครองท้องถิ่น และใช้หลักการกระจายอำนาจ จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า รัฐพึงส่งเสริมท้องถิ่นให้มีสิทธิปกครองตนเองได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ปัจจุบันมีการจัดหน่วยการ ปกครองท้องถิ่นหลายแบบและหลายระดับ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เป็นต้น แต่ละแบบก็ให้สิทธิประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามลักษณะการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น สามารถดำเนินการของตนเองได้ อย่างไรก็ตามในพฤติกรรมความเป็นจริงรัฐบาลในส่วนกลาง หรือฝ่ายบริหารก็มีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมการปกครองท้องถิ่นอยู่มาก โดยเฉพาะในบางรูป เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล และสภาตำบล และบางรูป คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ในบางสมัยก็ใช้วิธีการแต่งตั้งแทนการเลือกตั้ง เป็นต้น

10. พรรคการเมือง โดยปกติในการปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีพรรคการเมืองเพราะพรรคการเมืองเป็นที่สร้างพลังให้กับอุดมการณ์ เป็นที่ที่อาจค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน และเป็นสถาบันที่ทำให้คนต่างท้องถิ่นสามารถร่วมมือกันทางการเมืองได้ ในไทยพรรคการเมืองก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะแต่ละครั้งที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งจะมีการรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมืองเสมอ แม้ในบางสมัยจะไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญก็เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ จึงมีการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคการเมือง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายเป็นทางการก็ตาม อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองของไทยมีบทบาทในวงแคบ คือ มีผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ เป็นนักการเมือง ประชาชนโดยทั่วไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองไม่มากนัก
11. การเลือกตั้ง เป็นวิธีการสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตนเพราะเป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชนประเทศไทยเริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2476 แต่การเลือกตั้งไม่ได้มีประจำสม่ำเสมอมีว่างเว้นในระยะที่ใช้รัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราวภายหลังการปฏิวัติ อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งเท่าที่เคยมีมาก็มีลักษณะแบบประชาธิปไตย ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความสะดวก ตลอดจนหลักประกันในการใช้สิทธิใช้เสียง ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบโดยตรง คือ ประชาชนเลือก ส.ส. โดยมีครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คือ ประชาชนเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลไปเลือก ส.ส. อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งที่มีมาเคยใช้ทั้งรวมเขตและแบ่งเขต ระยะหลังมีแนวโน้มที่ใช้ระบบผสมคือ จังหวัดไหนมี ส.ส. จำนวนมากก็ใช้วิธีแบ่งเขต โดยมีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่เขตหนึ่งจะพึงมีเอาไว้ เกินจากนั้นต้องใช้วิธีแบ่งเขต ส่วนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงนั้น เมื่อก่อนมีผู้ไปลงคะแนนมักจะไม่ถึงครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ แต่ในระยะหลัง มีแนวโน้มดีขึ้น คือ มีผู้ใช้สิทธิกว่าครึ่งประมาณร้อยละ 60 อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็ยังมีจุดอ่อน กล่าวคือ มีการซื้อเสียงและใช้เงินในการหาเสียงเกินกว่าที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนดไว้ ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้ไม่ได้ ผู้ที่เป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริงและแนวทางประชาธิปไตยกลายเป็นประโยชน์สำหรับนายทุนและนักธุรกิจแทนที่จะเป็นประชาชน

การเมืองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
ประชาชนไทยมีเสรีภาพทางการเมืองพอสมควร สามารถที่จะแสดงออกทางการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมือง แม้จะยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองมารองรับ เช่น ในกาเลือกตั้งหลายครั้งแม้ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง แต่ในพฤติกรรมความเป็นจริงนั้น ก็มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นพลายพรรค โดยอาศัยเสรีภาพที่ได้รับการยอมรับโดยรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแม่บทการรวมกลุ่มเป็นสมาคมสหภาพ ก็สามารถทำได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น การเดินขบวน หรือการชุมนุมกันเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ก็มีปรากฏและไม่ได้รับการขัดขวางในการแสดงออก ตราบเท่าที่ไม่มีการละเมิดกฎหมาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์และโฆษณา ซึ่งเป็นไปอย่างกว้างขวาง จนน่าจะเป็นที่ยอมรับว่าประเทศไทยนั้น ให้เสรีภาพทางการเมืองแก่ประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศให้กฎอัยการศึก และมีประกาศหรือคำสั่งและกฎหมายบางฉบับจำกัดเสรีภาพในทางการเมืองบ้าง แต่ในทางปฏิบัติก็มีการผ่อนผันและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้จนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการแสดงออกทางการเมือง

ถ้าพิจารณาจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534 และรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ใช้มาก่อนหน้านั้น จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการพัฒนาทางการเมืองของไทยต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีระบบพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมาก เป็นต้นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังกำหนดว่า เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วจะพ้นจากการเป็น ส.ส.ทันทีที่ลาออกหรือถูกขับไล่ออกจากพรรค จึงทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการในสภา นอกจากนี้ พะราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยังพยายามวางแนวทางให้พรรคการเมืองมีลักษณะเป็นพรรคที่มีฐานสนับสนุนจากมวลชนอย่างกว้างขวาง กล่าวคือต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน และต้องอยู่ในทุกภาค ภาคละไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด จังหวัดหนึ่งต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน

การเมืองระดับท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นระดับ และรูปแบบที่สำคัญนั้นก็ได้มีการเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา หลังจากที่ได้งดเว้นมานาน ปัจจุบันนี้ก็ได้ให้มีการดำเนินการ การปกครองระดับท้องถิ่นในแบบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการเมืองระดับท้องถิ่นนี้ก็ยังไม่สู้ได้รับการสนใจจากประชาชนอย่างกว้างขวางนัก จะเห็นได้จากการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก รูปแบบลักษณะของหน่วยการปกครองท้องถิ่นก็ยังค่อนข้างเป็นไปแบบเดิม คือ ไม่สู้อิสระในการดำเนินการมากนัก ทางการยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมและดำเนินการอยู่และยังได้รับความสนใจอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น

อย่างไรก็ตามการที่จะเห็นรูปการเมืองการปกครองไทยพัฒนาไปสู่รูปแบบความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หากประชาชนมีความตื่นตัวและมีความสำนึกทางการเมืองสามารถใช้วิจารณญาณทางการเมืองได้ถูกต้อง สนใจที่จะใช้สิทธิทางการเมืองลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเลือกผู้แทนราษฎรที่ดีเข้าสู่สภา บทบาท และพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ก็จะต้องพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ ทำให้ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแพร่หลายขึ้นและเมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีเสถียรภาพมั่นคงอยู่คู่กับการปกครองไทยตลอดไป

ปัจจุบันนี้จากการพิจารณาบรรยากาศการเมืองไทย อาจกล่าวได้ว่า มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ประชาชนมีความตื่นตัวและมีจิตสำนึกทางการเมืองมากขึ้น จะเห็นได้จากสถิติผู้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะหลังมีจำนวนเกินครึ่งทุกครั้ง (การเลือกตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 มีผู้ไปลงคะแนนจำนวนร้อยละ 50.76 การเลือกตั้งเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ร้อยละ 61.43 การเลือกตั้งเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ร้อยละ 63.56 และการเลือกตั้งเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ร้อยละ 61.59) มีการเผยแพร่ข่าวสารการเมืองอย่างกว้างขวางโดยสื่อมวลชนทุกประเภททั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ทำให้ประชาชนสนใจและเข้าใจการเมืองมากขึ้น แม้ว่าจะยังมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอยู่บ้าง เช่น การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเงินที่เข้ามามีบทบาทสูงในการเลือกตั้ง หรือการที่นักการเมืองบางคน มีบทบาทเป็นนักธุรกิจการเมืองแต่ในการเมืองระบบเปิด และในยุคที่ข่าวสารที่แพร่หลายได้กว้างขวางเช่นทุกวันนี้ ก็คงพอที่จะให้ความเชื่อมั่นได้ว่า ประชาชนจะมีส่วนช่วยควบคุมให้การเมืองพัฒนาไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้กับประชาชนโดยส่วนรวมมากขึ้น เพราะการกระทำที่ไม้ชอบมาพากลของนักการเมืองจะถูกเปิดเผยให้ทราบต่อสาธารณะทำให้ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องระมัดระวัง พฤติกรรมของตนตามสมควร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่าในระบอบประชาธิปไตย นอกจากกลุ่มนักการเมืองที่รวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองในระดับชาติ หรือกลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่นที่รวมตัวกันเพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้งในระดับต่างๆ แล้วยังต้องการให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนในลักษณะกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอุดมการณ์ กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ที่ไม่ต้องการเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ทำหน้าที่แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาหรือประเด็นการเมืองที่เกิดขึ้น แสงดความต้องการให้ผู้ปกครองรับทราบ ทำให้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องของกลุ่มเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ในการเมืองไทยก็มีกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งที่จัดตั้งเป็นทางการ เช่น สหภาพ สมาคม หรือจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่ม ชมรมต่างๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มเฉพาะกิจ หรือเฉพาะกาลเป็นครั้งคราว เข้ามามีบทบาทในทางการเาองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายตามที่กลุ่มชนต้องการ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นักศึกษา กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา ก็มีการชุมนุมหรือเดินขบวนเพื่อให้ทางการได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มหรือกับส่วนรวมอยู่เสมอ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาพืชผลราคาตกต่ำ ทำให้รัฐบาลต้องตื่นตัวอยู่เสมอในอันที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ตราบเท่าที่ไม่มีการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย เพราะเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการพยายามสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

ยังมีสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่จะขาดเสียมิได้ คือ ประชาชนทุกคนต้องมี ขันติธรรม กล่าวคือ สมาชิกในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นผู้มีความอดกลั้น อดทนอย่างยิ่ง ต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่ไม่ตรงกับความเห็นของตนได้ ต้องรอฟังความเห็นส่วนใหญ่จากบรรดาผู้เกี่ยวข้องในการที่จะดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งต้องทนต่อสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ กระบวนการของประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องอาศัยเวลา ต้องค่อยเป็นค่อยไปและต้องมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง สมาชิกของสังคมนี้จึงต้องได้รับการปลูกฝังคุณสมบัติดังกล่าวตั้งแต่เยาว์วัยและพัฒนาขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การปฏิวัติ (การหมุนกลับ การเปลี่ยนแปลงระบบ) หรือการรัฐประหาร (มีการใช้กำลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน) จึงเป็นวิธีการซึ่งขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยและไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาการปกครองระบอบนี้อย่างแน่นอน เพราะทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารจะต้องมีการล้มเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นจึงต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดตั้งรัฐบาลกันใหม่ทุกครั้งไป เป็นเหตุให้ผลประโยชน์ของชาติบ้านเมืองและของประชาชนต้องชะงักงันไป




สถานที่อยากไป

พระราชวังแวร์ซาย






พระราชวังแวร์ซายส์



พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย



ประวัติ

เดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้




สถานที่ต่างๆ

ห้องกระจก
ห้องกระจก(Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่าง
สัมพันธมิตรกับเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายส์อันสวยงาม







เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก



พระราชวังแวร์ซายส์ได้รับจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่ประเทศอียิปต์ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
- เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์










เหตุการณ์สำคัญ


พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) - พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ทรงมีรับสั่งให้สร้างพระตำหนักที่แวร์ซายส์ขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับในขณะล่าสัตว์
พ.ศ. 2204-2208 (ค.ศ. 1661-1665) - พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงจ้าง
สถาปนิก หลุยส์ เลอ โว (Louis Le Vau) ให้มาสร้างพระราชวัง
พ.ศ. 2210-2213 (ค.ศ. 1667-1670) - การก่อสร้างสวนโดย อองเดร เลอ โนเทรอ(André Le Nôtre)
พ.ศ. 2211 (ค.ศ. 1668) - เลอ โว เริ่มสร้างพระราชวังต่อ
พ.ศ. 2218-2225 (ค.ศ. 1675-1682) - สร้างเขื่อนที่
แม่น้ำเซน เพื่อผันน้ำเข้าสู่พระราชวัง
พ.ศ. 2221-2230 (ค.ศ. 1678-1688) - สร้างห้องกระจกโดย Monsieur
พ.ศ. 2242-2253 (ค.ศ. 1699-1710) - สร้างโบสถ์
พ.ศ. 2296-2313 (ค.ศ. 1753-1770) - สร้างโรงละคร
โอเปรา












วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กีฬา

กีฬา "ว่ายน้ำ"

ประวัติความเป็นมาของกีฬาว่ายน้ำ

ความเป็นมาของการว่ายน้ำ


รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่น ว่ายน้ำของ บริษัทสกายบุ๊กส์ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเล่นกีฬาว่ายน้ำไว้ดังนี้ [1] ว่ายน้ำเป็นกีฬาที่รู้จักมาแต่สมัยโบราณการว่ายน้ำยุคก่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งทะเล แม่น้ำที่ราบลุ่มต่างๆ เช่นพวกแอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมันได้มีการฝึกว่ายน้ำแล้ว โดยประวัติศาสตร์ระบุว่า การว่ายน้ำในสมัยก่อนคริสตกาลเป็นการเรียนรู้เพื่อหลบหลีกภัยอันตรายต่างๆ เท่านั้น เช่น ในสงครามยุคเรือใบได้กล่าวถึงทหารที่หลบหนีข้าศึกโดยการว่ายน้ำขึ้นฝั่งด้วยท่าว่ายน้ำด้วยท่าอิสระเรียกว่า “ฟรีสไตล์” (Free style) คือไม่มีท่าทางแน่นอน แต่เพื่อการพยุงตัวอยู่ในน้ำให้ได้นานที่สุดนั้นเป็นการเรียนรู้เพื่อหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยอันตรายต่างๆ เช่นจากเรือล่ม หรืออับปางในทะเล การว่ายน้ำสมัยก่อนนั้น เป็นการว่ายท่าอิสระไม่จำกัดแบบ (Free style) จะว่ายน้ำท่าใดก็ได้ตามถนัดให้ลอยอยู่ในน้ำได้นานๆ และพาตัวเองไปข้างหน้าได้ มนุษย์เรียนรู้การว่ายน้ำโดยวิธีธรรมชาติ แบบการว่ายน้ำนั้นไม่มีอยู่ในระบบจะว่ายท่ากบก็ไม่ใช่ หรือจะเป็นการกระทุ่มไปข้างๆ ก็ไม่เชิง เพียงพยุงตัวเองให้ลอยน้ำแล้วเท้าทั้งสองถีบน้ำขึ้นลง มือทั้งสองก็พุ้ยน้ำคล้ายสุนัขตกน้ำ หลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับการว่ายน้ำ คือภาพแกะสลักที่ค้นพบในเมืองปอมเปอี เป็นภาพการว่ายน้ำแบบกรรเชียงข้างซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ ตั้งแต่ อดีตกาล ส่วนมากจะเป็นการว่ายน้ำโดยการถีบเท้าขึ้นลงใต้น้ำ มือทั้งสองพุ้ยน้ำออกไปข้างๆ ต่อมานาย Raph Thomas เป็นผู้ให้ชื่อการว่ายแบบนี้ว่า “Human stroke” หรือเรียกอีกอย่างว่า “Dog paddle” ซึ่งเป็นการว่ายน้ำแบบสุนัขตกน้ำ

ว่ายน้ำนับว่าเป็นกิจกรรม ที่นิยมขึ้นหน้าขึ้นตาระหว่างชนชั้นต่างๆ ของชาวกรีกเรียกว่าเป็นอุปนิสัยประจำชาติ ต่อมากรีกได้บรรจุกีฬาว่ายน้ำไว้ในระดับชาติ เช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่นๆ พฤติกรรมทำนองนี้ชาวพื้นเมืองของเม็กซิกันก็นิยมว่ายน้ำกันมาก ได้นำวิธีการแบบนี้ไปเผยแพร่ตามหัวเมืองชายทะเล มีการจัดการแข่งขันระหว่าง พระในสำนักวาติกันโดยขนานนาม ผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนั้นว่า “เทพเจ้าแห่งนาวี” เชื่อกันว่า การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดการแข่งขันที่(Woolwich Baths) ใกล้กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเมื่อ ปี ค.ศ.1873 การแข่งขันในครั้งนี้จัดเพียงแบบเดียวคือ ฟรีสไตล์ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ให้เร็วที่สุดการแข่งขันครั้งนี้ J.Trudgen ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม โดยที่เขาว่ายน้ำแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ เนื่องจากเขาได้เห็นพวกอินเดียแดงว่ายน้ำแบบนั้นจึงได้นำมาว่ายบ้าง จึงได้ซื่อว่าเป็นผู้นำเผยแพร่ วิธีการว่ายน้ำแบบที่ยกแขนขึ้นไปเหนือน้ำในการจ้วงพุ้ยน้ำ หลังจากได้รับชัยชนะมาแล้ว ชาวยุโรปมีความสนใจกันมาก และหัดว่ายตามแบบโดยใช้ชื่อว่า Indian Stroke, Trudgen Stroke หรือ Trudgen Crawl ประชาชนทั่วโลกเริ่มสนใจและกระตือรือร้น ที่จะว่ายน้ำมากขึ้นเมื่อเรือเอก Matthew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมือง Dover ถึง Calais เมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม ค.ศ.1875 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ข่าวความสำเร็จในครั้งนี้ได้แพร่กระจายยังความตื่นเต้นไปทั่วโลก เรือเอก Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบด้วยแบบกบ (Breast Stroke) ต่อมาเด็กสาวชาวอเมริกันชื่อ Gertrude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษอีก เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1926 โดยทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายแบบ Crawl Stroke ซึ่งเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 50 ปี ว่ายน้ำได้พัฒนาความก้าวหน้ามากขึ้นในเรื่องความเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว Lancashire และ Australia ได้ดัดแปลงวิธีการว่ายน้ำแบบ Trudgen Stroke เพื่อให้เกิดความเร็วยิ่งขึ้น เช่น การใช้ขาเตะสลับขึ้นลงแบบกรรไกร โดยกางขาให้มากขึ้นไม่งอเข่ามากเช่นแต่ก่อน ซึ่งผู้นำวิธีการว่ายน้ำแบบนี้ไปใช้ และได้ผลก็คือ Taylor ผู้ครองสถิติโลกเมื่อปี ค.ศ.1926-1908 Bare Kierany ชาวออสเตรเลีย และBattersby ชาวอังกฤษต่อมาการว่ายน้ำแบบ Crawl Stroke ก็ได้เริ่มขึ้นโดย Alex Wickham เป็นชาวเกาะโซโลมอน อาศัยอยู่ที่ซิดนีย์ประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ครองสถิติโลกในการว่ายน้ำแบบฟรีสไตล์ อยู่เป็นเวลานาน ในระยะทาง 50 หลา เขาได้ว่ายน้ำแบบ Crawl Stroke และ Alex Wickham ได้กล่าวว่าเด็กชาวเกาะโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำในแบบนี้ทั้งนั้น หลังจากนั้นต่อมาการว่ายน้ำแบบฟรีสไตล์ก็ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายฝึกหัดกันโดยทั่วไป Dick Cavill ชาวออสเตรเลีย อีกคนหนึ่งที่ได้ปรับปรุงวิธีการว่ายน้ำแบบ Crawl Stoke และ Wickham จนได้รับผลสำเร็จและได้ครองสถิติโลกในระยะทาง 100 หลาโดยทำเวลา ได้ 55 วินาที หลังจากนั้นการว่ายน้ำแบบ Crawl Stroke ก็ได้รับความนิยมแพร่หลาย ทั่วโลกศตวรรษที่19 ว่ายน้ำได้มีการพัฒนาความก้าวหน้าไปอย่างไม่น่าเชื่อ ในประเทศอังกฤษว่ายน้ำเริ่มมีบทบาท รวมกันเป็นสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศอังกฤษ และเริ่มรับสโมสรสมาชิกที่มีสระว่ายน้ำเป็นของตนเองไว้ในโอกาสแรก (ในปี 1844 ประเทศอังกฤษมีเพียง 6 สระ เท่านั้น) ช่วงระยะเวลาเดียวกันชาวยุโรปกลับไปนิยมว่ายน้ำประเภทกบโดยการสังเกตจากการว่ายของกบแล้วนำไปเลียนแบบด้วยการกระเดือกตัวหรือคืบตัวไปทางด้านข้างเพราะไม่ค่อย รู้สึกเหนื่อยแต่ไปได้ช้า และมีความเร็วต่ำมาก ในปี 1902 ริชาร์ด ดาวิลล์ ชาวอังกฤษสามารถว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ 100 หลา ด้วยเวลา 58.6 วินาทีนับเป็นเวลาที่เร็วมาก (100 เมตร ประมาณ 1.45 นาที) ทำให้เขาได้รับฉายาในการว่ายน้ำท่านี้ว่าปรู๊ดปร๊าด เหมือนงูเลื้อย ได้มีคนเลียนแบบการว่ายน้ำท่านี้ ในที่สุดได้เรียกชื่อการว่ายน้ำในท่านี้ว่า ฟรีสไตล์ จนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมา ชาร์ล เอม ดาเนียล ได้ประยุกต์การใช้แขนและขาสลับกันกันอัตราส่วน 1 ต่อ 3 และพยายามเปลี่ยนระบบการหายใจออกเป็นจังหวะในขณะใช้แขนจ้วงลงน้ำ และเริ่มหายใจเข้าขณะที่ยกแขนข้างนั้นสูงขึ้น สไตล์การว่ายน้ำแบบนี้ ดาเนียลเรียกชื่อว่า “อเมริกันคลอว์ล” ต่อมาเขาได้ลงแข่งขันว่ายน้ำในกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ.1910 ได้แชมป์ถึง 3 รายการ และสามารถทำสถิติโลกในระยะทาง 100 หลา ด้วยเวลาเพียง 45.8 วินาที ในปี 1924 ได้มีการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำในกีฬาโอลิมปิกที่กรุง ปารีส นักว่ายน้ำชาวอเมริกันชื่อ จอนห์นี ไวสมูลเลอร์ได้ทำสถิติโลกขึ้นใหม่ในระยะทาง 100 เมตร ด้วยเวลา 59.0 วินาที สามารถทำเหรียญทองว่ายน้ำประเภทอื่นๆ อีก 2 เหรียญ ในปี 1964 ดอน ชอลแลนเดอร์ จากสหรัฐอเมริกาได้ลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่18 ที่กรุงโตเกียวได้นำวิธีการว่ายของจอนห์นี ไวมูลเลอร์ มาทั้งหมดไม่มีการดัดแปลงและสามารถคว้าเหรียญทองมาถึง 4 เหรียญจากการว่ายน้ำฟรีสไตล์ 100, 200,400 เมตรโดยลบสถิติ ทั้งหมดทุกระยะที่ตนเองลงแข่งขัน

การแข่งขันโอลิมปิกยุคต้นๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 ประเทศเจ้าภาพเริ่มบรรจุการว่ายน้ำท่ากรรเชียงระยะทาง 100 หลาด้วย โดยแยกเป็นท่าว่ายอีกประเภทหนึ่ง แตกต่างจากการ แข่งขัน ประเภทฟรีสไตล์ และต่อมาก็ได้บรรจุท่าว่ายกบเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยสำหรับการแข่งขันประเภทหญิง ได้เริ่มบรรจุเข้าเริ่มแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1912 เพิ่มประเภท การว่ายน้ำ และระยะทางในแบบต่างๆ เช่นเดียวกับการว่ายของประเภทชาย ปี ค.ศ.1930 ได้บรรจุการแข่งขันว่ายน้ำแบบกบเป็นแบบสากล โดยเป็นการทดลองดูก่อนที่จะแข่งขันโอลิมปิก ปรากฏว่ากบฝรั่งสู้กบญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะนักว่ายน้ำญี่ปุ่นเป็นนักดำน้ำสามารถว่ายใต้น้ำได้รวดเร็วมาก และ ดำได้ครั้งหนึ่งเป็นระยะทางไกลมากเกินกว่า 50 หลา ต่อมาได้มีกติกาห้ามดำน้ำขึ้น เพื่อเป็นการ ป้องกันการดำน้ำหรือการว่ายใต้น้ำของญี่ปุ่น แต่โค้ชญี่ปุ่นก็ไม่ย่อท้อ คิดการว่ายน้ำแบบผีเสื้อขึ้นมาใหม่ทดแทนการดำน้ำเพระกติกาการว่ายน้ำแบบกบสมัยนั้นเขียนว่า “ห้ามดำ” เพื่อเป็นการเลี่ยงกฎอย่างดื้อๆ และสามารถลบสถิติไปในที่สุดทำให้อเมริกันเอาอย่างบ้าง โดยการคิดค้นท่าว่ายใหม่ โดยการเตะเท้าคล้ายๆ ปลาโลมาสะบัดหางขึ้นแทนการว่ายน้ำแบบผีเสื้อเตะขากบของชาวญี่ปุ่น และสามารถลบสถิติได้เหมือนกัน



ประวัติว่ายน้ำสากล สหพันธ์กีฬาว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA)

(Federation International De Natation Amateur)

สหพันธ์กีฬาว่ายน้ำระหว่างประเทศหรือเรียกว่า “สหพันธ์ว่ายน้ำโลก” มีชื่อเรียก ย่อๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “FINA” ได้กำเนิดขึ้นในปี ค.ค.1908 ประเทศอังกฤษเป็นผู้ริเริ่มและมีบทบาทมากในการก่อตั้งสหพันธ์นี้ขึ้น มีประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนหลายประเทศ เช่น กรีซ สหรัฐอเมริกา ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮอลแลนด์ เมกซิโก ฯลฯ หลังจากก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นแล้ว สมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ก็ได้แต่งตั้งนาย จี.ดับบลิว ฮีน (G.W.Hean) ผู้แทนสโมสรว่ายน้ำของอังกฤษ เป็นเลขาธิการและเหรัญญิกของสหพันธ์ ฯ เป็นเวลาถึง 16 ปี โดยไม่มีประธานสหพันธ์จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1924 ที่ประชุมจึงได้เลือก นายอีริก เบิกวอลล์ (Erik Beagvall) ชาวสวีเดน เป็นประธานสหพันธ์คนแรก ประธานได้เลือกเลขาธิการและเหรัญญิกคนเดิมต่อไปอีก 4 ปีจึงได้มีการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1928 ซึ่งประเทศฝรั่งเศสได้เป็นประธานสหพันธ์การเลือกตั้งมีทุก ๆ 4 ปี ตำแหน่งประธานสหพันธ์ก็เปลี่ยนไปตามประเทศสมาชิกต่าง ๆ



ประวัติกีฬาว่ายน้ำในประเทศไทย สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย


ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2501 โดย น.อ.สุรพล แสงโชติ ทูตทหารเรือในฝรั่งเศสได้เป็นผู้ติดต่อไปยัง นาย บี.ซัลล์ฟอร์ส (B.Sallfors) ซึ่งเป็นเลขาธิการประจำอยู่ที่ประเทศสวีเดน และได้รับอนุมัติ ให้เป็นสมาชิกอย่างถูกต้องในเดือนเมษายน 2502 สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2500 โดย พล ร.ต.สวัสดิ์ ภูติอนันต์ เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตามตำแหน่ง ดังนี้ พลเรือตรี สวัสดิ์ ภูติอนันต์ รน. เป็น นายกสมาคม คณะกรรมการได้เสนอเรื่องขออนุมัติ ก่อตั้งสมาคมไปยังกรมตำรวจและกระทรวงวัฒนธรรมในสมัยนั้น และได้รับอนุมัติให้เป็นสมาคมกีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในปี พ.
ศ. 2502


ท่าว่ายน้ำ

1. FREESTYLE ฟรีสไตล์
คำว่า "ฟรีสไตล์" เป็นคำที่เรียกกันติดปาก เพราะถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ท่านี้มีชื่อว่า "crawl stroke" (อ่านว่า ครอล สโตรค)
ที่เรียกกันว่า ฟรีสไตล์ก็เพราะคุณสามารถว่ายท่าอะไรก็ได้ที่คิดว่าเร็วที่สุดเพื่อให้ถึงขอบสระก่อนคนอื่น โดยท่าที่นิยมใช้
คือ crawl stroke ทำไมท่านี้จึงมีความเร็วสูงที่สุดน่ะหรือ เป็นเพราะท่านี้เป็นท่าที่ร่างกายมีความเพรียวลู่น้ำมากกว่า
ท่าอื่น ๆ รวมทั้ง การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งท่านก็สามารถจะว่ายได้อย่างง่ายดาย และในกระบวนการสอนว่ายน้ำ
ก็จะสอนท่านี้เป็นท่าแรก

การใช้แขนท่าฟรีสไตล์ (Freestyle Arm Action)

1. การว่ายน้ำทุกท่ายกเว้นท่ากบ จะต้องใช้แขนและมือเป็นตัวขับ เคลื่อนถึง 70 % หรือมากกว่า ดังนั้นแขนจึงเปรียบเสมือนไม้พาย ที่จะช่วยให้ร่างกายไปข้างหน้าได้ และในท่าฟรีสไตล์นั้น มีลักษณะการใช้แขนที่มีความต่อเนื่องกันมากที่สุด โดยการว่ายให้มีความเร็วและถูกต้องนั้น ทำได้ดังนี้1. เมื่อคุณยืดแขนไปด้านหน้าจนสุดแล้ว แขนของคุณต้องชิดกับหู
2. ต่อจากนั้นให้คุณกดมือลง พร้อมกับโก่งแขนโดยการยกข้อศอกโดยแรงที่จะส่งตัวคุณนั้นจะออกมาจากไหล่
3. ดันแขนท่อนล่างให้ผ่านไปใต้ลำตัว นิ้วทุกนิ้วเรียงชิดติดกัน
4. ดันน้ำจนกระทั่งแขนของคุณตึงพอดี สามารถตรวจสอบได้ โดยมือของคุณจะผ่านไปถึงต้นขา
5. ยกแขนขึ้น โดยงอข้อศอก แล้ววาดแขนมาด้านหน้า วางมือลงน้ำ กดศอกแล้วยืดแขนออกไป







ข้อควรจำ


1. คุณต้องดันน้ำไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว
2. เมื่อคุณจะวางแขนลงน้ำเพื่อว่ายต่อไป พยายามอย่าให้แขนฟาดน้ำ ให้ลากศอกและมือแทงลงน้ำไปด้านหน้าอย่างนิ่มนวล
3. เมื่อมือคุณลงน้ำแล้ว อย่าให้มือชี้ลงไปที่พื้นสระ จงบังคับมือและแขนให้ชี้ไปยังเป้าหมาย คือ ด้านหน้าของคุณ โดยการ ยืดแขนออกไปขณะที่มือลงน้ำ ไม่ใช่จิ้มมือลงไปในน้ำ


การใช้ขาท่าฟรีสไตล์ (Freestyle Leg Action)

ในการใช้ขาของท่าฟรีสไตล์ จะเตะขาในลักษณะเตะสลับขึ้นลง ซ้ายขวา โดยที่จะต้องส่งแรงเตะมาจากสะโพก ไม่ใช่เตะจากหัวเข่า โดยในการเตะขานั้น ข้อเท้าและหัวเข่าต้องมีความพลิ้วไม่เกร็งเป็นอันขาดจังหวะของการเตะขาท่าฟรีสไตล์

" การเตะขาที่ถูกวิธี จะช่วยทำให้คุณว่ายน้ำได้เร็วและดีขึ้น เพราะมันจะช่วยให้การทรงตัวของร่างกายคุณสมบูรณ์แบบ " 12345678910จังหวะทั้งหมดเป็นไปโดยต่อเนื่องกันไม่ขาดตอน สังเกตดูว่า ในภาพไม่ได้เพียงแต่งอเข่าแล้วเตะลงน้ำเท่านั้น แต่เขายังใช้แรงจากสะโพกเข้ามาช่วยด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือ เวลาคุณเตะขาท่าฟรีสไตล์นั้น คุณต้องขยับทั้งขา ยกตัวอย่าง เช่น ให้สะโพกของคุณเป็นมือ และขาของคุณเป็นเชือก ถ้าคุณสะบัดมือเชือกทั้งเส้นก็จะวิ่งตามกันไปทั้งหมด แต่แรงจริง ๆ ที่จะส่งให้เชือกเกิดการสะบัดก็คือมือของคุณ ดังนั้นแรงจริง ๆ ที่จะใช้ในการเตะขาจะส่งมาจากสะโพก นั่นเอง ในการเตะขาของคุณนั้น คุณต้องเตะอย่างต่อเนื่อง ถ้าว่ายระยะสั้น คุณต้องเตะอย่างแรงและเร็ว ไม่ยกเท้าขึ้นสูงพ้นน้ำจนกระทั่งเห็นน่อง ให้บริเวณข้อเท้าของคุณพ้นน้ำเท่านั้นก็พอแล้ว และเมื่อคุณสะบัดขาลงน้ำ คุณต้องเตะให้เต็มจังหวะ อย่ายึกยัก หรือเกร็งใด ๆ ทั้งสิ้น คิดถึงภาพปลาว่ายน้ำเอาไว้ หางปลาที่ส่าย ๆ น่ะ อย่างนั้นแหละครับ


ความสัมพันธ์ของร่างกายในท่าฟรีสไตล์ (Freestyle Relative Action)

ท่านี้เป็นท่าที่มีความต่อเนื่องในการทำงานของร่างกายอย่างดี คุณสามารถว่ายท่านี้ได้อย่างง่ายดาย แต่คุณต้องพยายามที่รักษาความนิ่มนวลและความพลิ้วไหวในการว่ายด้วย ถ้าคุณสามารถทำตัวให้ลื่นไหลไปเรื่อย ๆ ได้ก็จะดีมาก ไม่เพียงแต่ท่าฟรีสไตล์เท่านั้น ทุก ๆ ท่า ก็ต้องนิ่มนวล และพลิ้วไหวเช่นกัน

TIP OF FREESTYLE

1. คุณต้องไม่เกร็งลำตัวให้แบนราบอยู่กับน้ำตลอด คุณควรปล่อยไหล่และร่างกายให้เป็นธรรมชาติ การกลิ้งลำตัวตามธรรมชาตินั้นจะทำให้ว่ายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น
2. การเอียงหน้าหายใจ ควรทำเมื่อคุณรู้สึกเริ่มที่จะต้องหายใจออกแล้ว ไม่ใช่กลั้นจนกระทั่งไม่ไหวแล้วจึงเอียงหน้าหายใจ การกระทำเช่นนี้จะทำให้คุณเสียจังหวะได้
3. ถ้าคุณไม่เอียงหน้าหายใจ ก็จงรักษาศีรษะให้นิ่ง ๆ เอาไว้ อย่าส่ายหัว เพราะจะทำให้ช้าลง


2. BACKSTROKE ท่ากรรเชียง


หากคุณว่ายท่าฟรีสไตล์ได้ การว่ายท่ากรรเชียงก็ไม่ยากสำหรับคุณ เพราะท่ากรรเชียงก็เหมือนกับท่าฟรีสไตล์กลับด้านกันนั่นเอง ดังนั้นคุณสามารถว่ายกรรเชียงโดยดัดแปลงหลักการของฟรีสไตล์ได้ ถ้าคุณคิดจะว่ายเล่นคำพูดที่บอกว่าหน้าอยู่เหนือน้ำตลอดก็เป็นคำพูดที่ถูก แต่ในการแข่งขันแล้วคุณคิดเช่นนั้นหรือเปล่าเอ่ย? ไม่เลย..เพราะในการว่ายระดับสูงจะมีคลื่นที่เกิดจากการ วางแขนของคุณไปด้านหลังอย่างเร็วและต้องวางให้ชิดกับหูของคุณด้วย ดังนั้นจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าน้ำจะเข้ามาที่หน้าของคุณ การแก้ไขทำอย่างไร คุณสามารถหาดูได้จากหัวข้อด้านล่างนี้

การใช้แขนท่ากรรเชียง (Backstroke Arm Action)








การว่ายท่ากรรเชียง คุณต้องนอนหงายแล้วว่ายในลักษณะเคลื่อนที่ไปด้านหลัง แต่การทำงานของแขน
และมือจะคล้ายกับท่าฟรีสไตล์มาก เรามาดูกันว่า เราต้องทำอย่างไรบ้าง


1. เมื่อคุณยืดแขนออกไปแล้ว แขนคุณต้องชิดหู ไม่ใช่เอาหูไปชิดแขนนะครับ ให้พาแขนมาชิดหู
2. ให้คุณกดแขนลงไปในน้ำ ที่สำคัญปล่อยไหล่ตามสบาย ถ้าคุณเกร็งไหล่ให้อยู่กับที่เอาไว้ คุณจะกดแขนลงน้ำไม่ได้
3. งอข้อศอกและตั้งมือ พร้อมทั้งดันน้ำผ่านไปทางต้นขาของคุณอย่างรวดเร็ว
4. จังหวะสุดท้ายของการดันน้ำ ให้คุณกดมือลงอย่างแรง จนแขนของคุณตึง
5. เมื่อคุณยกแขนขึ้นมาจากน้ำ คุณต้องไม่งอข้อศอก และวางแขนไปด้านหลังโดยไม่ฟาดน้ำ โดยการวางแขนนั้นให้คุณหันฝ่ามือเอานิ้วก้อยลงก่อน
6. เริ่มทำข้อ 1. กับแขนอีกข้าง

ข้อควรจำ


1. ในการวางแขนลงน้ำเพื่อจะดึงน้ำต่อไป คุณต้องให้นิ้วก้อยลงน้ำก่อนเสมอ
2. คุณไม่ต้องกังวลเรื่องที่น้ำจะเข้าหน้าคุณ เพราะว่าถ้าคุณว่ายถูกต้อง น้ำก็เข้าหน้าคุณอยู่แล้ว ให้คุณแก้ไขโดยกำหนดจังหวะหายใจ เช่น ยกแขนขวาขึ้นหายใจเข้า ยกแขนซ้ายหายใจออก เป็นต้น
3. ให้คุณเก็บคางเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่ก้มจนหูพ้นน้ำ และไม่เงยจนกระทั่งหน้าจมลงไปในน้ำ
4. ยืดตัวเอาไว้ อย่างอตัวเป็นกุ้งเด็ดขาด

การใช้ขาท่ากรรเชียง (Backstroke Leg Action)


" การเตะขาที่ถูกวิธี จะช่วยทำให้คุณว่ายน้ำได้เร็วและดีขึ้น เพราะมันจะช่วยให้การทรงตัวของร่างกายคุณสมบูรณ์

แบบ " ในการเตะขาท่ากรรเชียงนั้น จะมีน้ำหนักในการเตะขามากกว่าท่าฟรีสไตล์ โดยเป็นการเตะในลักษณะสะบัดน้ำขึ้นไปทำให้ขาต้องทำงานหนักกว่าปกติ แต่การเตะที่ถูกต้องก็จะช่วยเสริมให้การว่ายดีขึ้นและอย่างที่บอกคือจะทำให้การทรงตัวของร่างกายสมบูรณ์แบบ เมื่อดูจากรูปแล้วจะพบว่า ลักษณะการเตะขาจะคล้ายคลึงกับการเตะขาท่าฟรีสไตล์มาก โดยแรงส่งจากสะโพกขึ้นไป และขาต้องพลิ้วเหมือนหางปลา ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เท้าต้องไม่โผล่พ้นน้ำจนเห็นหน้าแข้งและเท้าต้องไม่มีการตั้งขึ้นมา คือไม่จิ้มและไม่เกร็งข้อเท้า มิฉะนั้นเท้าของคุณจะไม่มีหน้าสัมผัสที่จะเตะน้ำ หัวเข่าก็เช่นกัน ไม่งอค้างเอาไว้เหนือน้ำโดยการเคลื่อนที่ของขาจะต้องไปด้วยกันตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้า ไม่ใช่งอขาเอาไว้แล้วเตะออกจากเข่าอย่างเดียว คุณจะเป็นได้ว่าหลักการของการเตะขาท่ากรรเชียงเหมือนกับการเตะขาท่าฟรีสไตล์เลย แต่เปลี่ยนจากนอนคว่ำเป็นนอนคว่ำเท่านั้นเอง

TIP OF BACKSTROKE


1. มีอยู่ 3 อย่างที่คุณต้องบังคับให้อยู่บนผิวน้ำ แต่ต้องไม่เกร็งนะครับ คือ ใบหน้า หน้าอก และท้อง
2. ลำตัวช่วงล่างตั้งแต่เอวลงไป พยายามอย่าให้ยกขึ้นมาเกินผิวน้ำ
3. ที่ผมบอกว่าใบหน้าลอยน้ำ ก็ต้องเป็นใบหน้านะครับ ไม่ใช่ศีรษะลอยขึ้นมาเหนือน้ำ สังเกตง่าย ๆ ว่าเวลาคุณว่ายหูของคุณพ้นน้ำขึ้นมาทั้งหูหรือเปล่า ถ้าใช่ก็แสดงว่า คุณยกศีรษะขึ้นมาเหนือน้ำแล้ว
4. เวลาว่ายให้เก็บคางเล็กน้อย ไม่ใช่ก้มมามองเท้า และไม่เงยจนหน้าจมน้ำ
5. แขนห้ามงอเด็ดขาดเมื่อยกขึ้นมาพ้นน้ำ


3. BUTTERFLY ท่าผีเสื้อ


ท่าผีเสื้อ เป็นท่าที่คุณต้องใช้แรงในการว่ายมากที่สุด และในการสอนว่ายน้ำก็จะสอนท่านี้เป็นท่าสุดท้าย ท่านี้มีความเร็วเป็นอันดับสองรองจากฟรีสไตล์ แต่ถ้าคุณว่ายเก่งคุณสามารถว่ายจี้ติดคนที่ว่ายท่าฟรีสไตล์ได้เลยทีเดียว ในการว่ายท่าผีเสื้อนี้คุณจะต้องฝึกฝนเป็นเวลานานกว่าท่าอื่น รวมทั้งคุณต้องมีร่างกายที่แข็งแรงด้วย บางคนคิดว่าการว่ายผีเสื้อต้องเป็นคนที่หัวไหล่แข็งแรงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วแค่นั้นยังไม่พอ คุณต้องมีกล้ามเนื้อทั้งหัวไหล่ หน้าอก ลำตัว หลัง และขาที่แข็งแรงมาก ถ้าคุณว่ายที่นี้ได้ดี คุณจะว่ายได้อย่างสวยงามไม่น้อยเลย สำหรับผู้ชายที่ว่ายน้ำท่านี้ คุณจะมีรูปร่างที่สวยงามเป็นเหมือนสามเหลี่ยมหัวกลับเลยเชียว แต่ถ้าคุณเป็นผู้หญิง คุณก็อาจจะมีช่วงไหล่ที่กว้างและใหญ่ได้ ในการว่ายท่านี้มีลักษณะเป็นการถ่ายน้ำหนักของร่างกายไปมาจากหน้าไปหลังและหลังไปหน้าไปเรื่อย ๆ ดังนั้นท่านี้ต้องอาศัยเอวและสะโพกมาช่วย


การใช้แขนท่าผีเสื้อ (ฺButterfly Arm Action)
การใช้แขนของท่าผีเสื้อนั้น เป็นดังรูป โดยมีขั้นตอนในการว่ายดังนี้









1. เมื่อแขนคุณอยู่ข้างหน้า ให้กดมือลงพร้อมกับกวาดออกไปด้านข้างเล็กน้อย
2. งอข้อศอกพร้อมทั้งดันมือผ่านใต้ลำตัว
3. ดันน้ำจนแขนผ่านบริเวณต้นขา
4. ยกแขนขึ้นให้ศอกและมือพ้นจากน้ำ
5. วางแขนกลับไปด้านหน้าโดยให้แขนมีความกว้างเท่าช่วงไหล่

ข้อควรจำ


1. ในขณะที่คุณดันน้ำผ่านใต้ลำตัวนั้น คุณต้องพยายามรักษาระดับของข้อศอกให้สูงเสมอ ไม่ให้ข้อศอกตกลงไปต่ำมาก
2. ในขณะยกแขนขึ้นจากน้ำต้องให้ศอกพ้นน้ำด้วย เพราะมันเป็นทั้งหลักการว่ายที่ถูกต้องและเป็นกติกาสากลในการว่ายท่าผีเสื้อ
3. คุณควรพยายามดันน้ำให้มือทั้งสองข้างผ่านใต้ลำตัว เพื่อให้เกิดแรงส่ง ถึงแม้จะเหนื่อยหน่อยแต่คุณจะว่ายได้เร็วกว่าการที่คุณจะดันน้ำเพียงแค่ข้างลำตัวเท่านั้น
4. ในการดันมือผ่านใต้ลำตัวคุณต้องดันน้ำไปข้างหลังอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นไหล่และแขนของคุณจะยกขึ้นไม่พ้นน้ำ

การใช้ขาท่าผีเสื้อ (ฺButterfly Leg Action)


" การเตะขาเหมือนปลาโลมา ช่วยในการถ่ายน้ำหนักไปมาระหว่างด้านหน้าและหลัง และยังส่งตัวคุณให้พุ่งไปข้างหน้า ด้วย " ในการว่ายท่าผีเสื้อนั้น การเตะขามิใช่จะใช้แต่เพียงขาเท่านั้น ยังต้องใช้ลำตัวและเอวในการที่จะบังคับร่างกายให้เลื้อยไปตามน้ำด้วย เพราะฉะนั้นถ้าคุณเตะขาท่านี้ได้ไม่ดี หรือมีพื้นฐานการเตะขาในท่าก่อน ๆ ไม่ดีพอแล้ว คุณจะจับจุดไม่ถูกว่าจะต้องเตะแบบไหนเพื่อให้ได้แรงและส่งตัวคุณไปข้างหน้าได้ แต่ถ้าคุณเข้าใจการเตะขาของฟรีสไตล์มันก็เป็นหลักการเดียวกัน เพียงแต่ว่า คุณต้องเตะสองขาพร้อม ๆ กันนั่นเอง

การเตะขาท่าผีเสื้อ ก็เหมือนท่าฟรีสไตล์ คือ เตะโดยส่งแรงจากสะโพกลงมาหาปลายเท้า แต่มีเทคนิคอื่น ๆ อีก ดังนี้

1. คุณต้องพยายามรวบให้เท้าอยู่ชิดกันและหัวเข่าไม่กางออก
2. คุณต้องไม่ยกเท้าขึ้นไปสูง จนเห็นน่องของคุณ คุณควรเตะโดยสะบัดเท้าจากระดับน้ำหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
3. คุณต้องไม่ให้สะโพกตกลงมากนัก เพราะจะทำให้การว่ายของคุณเสียจังหวะได้
4. การรวบเท้าชิดกันนั้น ต้องไม่เกร็งหรือหนีบเท้าแต่พยายามให้เท้าอยู่ใกล้กันมากที่สุด

TIP OF BUTTERFLYSTROKE


1. คุณต้องรักษาระดับไหล่ มือ ท้ายทอย และสะโพก ให้อยุ่ระดับน้ำเสมอ
2. ในการเงยหน้าขึ้นหายใจ ให้เป็นไปในลักษณะเชิดคางขึ้นมาแล้วเกี่ยวคางไปด้านหน้า ไม่ใช่ยกลำตัวขึ้นมาทั้งตัว
3. คุณต้องทำตัวให้เหมือนกับปลาโลมาว่ายน้ำ หรือทำตัวให้เหมือนลูกคลื่น โดยทุกจังหวะต้องต่อเนื่องไม่ชะงัก และพลิ้วไหว
4. การสะบัดเอวให้ทำตอนที่แขนลงน้ำ ตอนที่คุณดันน้ำนั้นเมื่อเตะขาแล้วไม่ต้องสะบัดเอวแต่ให้ยืดตัวไปข้างหน้าแทน

4. BREASTSTROKE


" คนส่วนใหญ่คิดว่าท่ากบจะสบายที่สุด แต่คุณรู้ไหมว่าท่ากบเป็นท่าที่ต้องใช้เทคนิคและพรสวรรค์สูงที่สุด "
ข้อความด้านบนเป็นจริง เพราะท่ากบเป็นท่าธรรมชาติของมนุษย์คือใช้มือพุ้ยน้ำและใช้เท้าถีบไปเรื่อย ๆ แต่ในการแข่งขันแล้ว ท่ากบใช้เทคนิคสูงเพราะการว่ายไม่เหมือนกับการว่ายเล่นธรรมดา และต้องใช้พรสวรรค์สูงเพราะเป็นท่าที่นักกีฬา ต้องมีกล้ามเนื้อ ที่เรียวยาว ข้อหัวเข่ายืดหยุ่นได้สูง ดังนั้นจึงไม่ง่ายเลยที่จะหาคนที่เหมาะสมกับการว่ายแบบนี้จริง ๆ และที่บอกว่าใช้เทคนิคสูง เนื่องจากอะไรนั้นสามารถดูได้จากเว็บไซต์นี้ แต่รูปที่นำมาแสดงเป็นการว่ายแบบปกติของท่ากบ ในช่วงท้ายจะมีส่วนที่จะบอกให้ คุณได้ทราบว่าเทคนิคดังกล่าวคืออะไร อ้อ! ถ้าคุณว่ายท่าผีเสื้อได้คุณก็คงทราบอยู่แล้วล่ะ

การใช้แขนท่ากบ (ฺBreaststroke Arm Action)

การใช้แขนในท่ากบ มีความสำคัญในการขับเคลื่อนร่างกายไปข้างหน้าน้อยกว่าการใช้ขา เพราะท่ากบใช้พลังขา 70 %เพื่อการขับเคลื่อนร่างกาย แต่การใช้แขนก็ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญเพราะอีก 30 % ก็มีผลต่อการว่ายเช่นกัน เรามาดูกันว่าการใช้แขนของท่ากบนั้นทำอย่างไรบ้าง
1. ให้คุณกดมือพร้อม ๆ กับการกวาดมือไปด้านข้าง โดยการกดมือและแขนลงนั้นให้กดลงประมาณ 45 องศา
2. เมื่อกวาดมือออกมาเลยช่วงไหล่เล็กน้อยให้โก่งแขนโดยงอข้อศอกและยกข้อศอกให้สูงเอาไว้พร้อมกับล็อคข้อศอกให้อยู่กับที่คือไม่ลากศอกออกไปด้านหลัง
3. ตวัดมือทั้งสองข้างให้มาด้านหน้าในลักษณะกระพุ่มมือ (การตวัดให้มาทั้งแขนท่อนล่างไม่ใช่ตวัดแค่ข้อมือ) พร้อมทั้งให้หนีบศอกทั้งสองข้างมาชิดตัวอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งยืดแขนออกไปด้านหน้าอย่างเร็วด้วย
4. ก้มหัว ส่งแรงจากไหล่ตามแขนไปด้วย

ข้อควรจำ


1. คุณต้องยกศอกให้สูงเสมอในขณะที่ดันน้ำ
2. คุณต้องไม่ลากแขนออกไปด้านข้างมากนัก และไม่ลากแขนจนมือเลยไปด้านหลัง
3. อย่าให้มือไปอยู่ใต้หน้าอกหรือใต้ลำตัว เมื่อศอกชิดตัวแล้วมือต้องอยู่ด้านหน้าของหน้าอก
4. คุณต้องหนีบข้อศอกมาให้รวดเร็วที่สุด เพื่อเป็นการแหวกขึ้นมาหายใจอย่างรวดเร็ว มิใช่ค่อย ๆ เงยขึ้นมาแล้วลำตัวไปต้านน้ำ ทำให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง

การใช้ขาท่ากบ (Breaststroke Leg Action)

" ท่านี้พลังขับเคลื่อนส่วนใหญ่มาจากขา ดังนั้นถ้าคุณใช้ขาได้ถูกต้อง คุณจะสามารถพุ่งไปได้ดีและเร็วกว่าคนอื่น " อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การว่ายท่ากบ เป็นท่าที่ต้องใช้พรสวรรค์และเทคนิคสูงที่สุด แต่คุณก็สามารถฝึกฝนได้ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า จะต้องใช้ขาอย่างไรจึงจะทำให้คุณมีพลังขับเคลื่อนที่ดีในการว่ายท่ากบนี้ ภาพที่เห็นเป็นภาพจากด้านหลังนะครับ

ขั้นตอนในการใช้ขาของท่ากบ มีดังนี้

1. ให้รวบขาชิดกันเท้าชิดกันเอาไว้ ยืดขาให้ยาว
2. งอเข่า ดึงส้นเท้ามาหาสะโพก ข้อสำคัญคุณต้องไม่ชักเข่าเข้าใต้ลำตัวของคุณ โดยการงอเข่านั้นคุณต้องแยกขาเล็กน้อยแต่คุณต้องบังคับให้เข่าและเท้ายังอยู่ในช่วงกว้างของสะโพก
3 - 4. เมื่อเท้าชิดสะโพกแล้วให้หมุนเท้าโดยให้นิ้วเท้าชี้ไปด้านข้าง ฝ่าเท้าอยู่ในท่าที่เตรียมจะถีบน้ำ
5 - 6. ถีบน้ำไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว
7 - 10. หลังจากนั้นให้คุณรวบขาและเท้าทั้งสองข้างให้ชิดกันอย่างรวดเร็ว เตรียมพร้อมที่จะถีบใหม่อีกครั้ง

ข้อควรจำ

1. คุณต้องไม่มีอาการเกร็งข้อเท้าเลย ในขณะที่ถีบน้ำ
2. ในการรวบเท้า คุณต้องตบฝ่าเท้าของคุณเข้าหากันอย่างรวดเร็วที่สุด
3. เวลาถีบขาอย่ากระชากหัวเข่า เพราะจะทำให้คุณรวบขาได้ช้า และอาจบาดเจ็บได้

ความสัมพันธ์ของร่างกายในท่ากบ (Breaststroke Relative Action)

ในการว่ายท่ากบนั้น จังหวะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะท่ากบต้องอาศัยความสัมพันธ์ของแขนกับขาเพื่อให้เกิดความลู่น้ำและความเร็วมากที่สุด ถ้าคุณว่ายผิดจังหวะแล้ว คุณจะไปได้ช้าและเหนื่อยกว่าปกติ ดังนั้น การว่ายท่ากบจึงต้องอาศัยการฝึกฝนและเทคนิคสักหน่อย แต่คุณก็ทำได้โดยอย่างนี้ครับ

ขั้นตอนต่าง ๆ ในการว่ายท่ากบ มีดังนี้

1. ให้คุณยืดแขนและขาเอาไว้ วางลำตัวเหมือนกับท่าฟรีสไตล์
2 - 3. ให้กวาดมือออกด้านข้างเล็กน้อย
4 - 6. เมื่อกวาดมือแล้ว ให้กดมือลง พร้อมกับรวบแขนไปด้านหลังเล็กน้อย
7 - 8. ให้รวบแขนและศอกมาชิดข้างลำตัว ให้ตวัดเข้ามาอย่างรวดเร็ว และให้มืออยู่บริเวณหน้าอก
9 - 10. เมื่อยืดแขนออกไป ให้งอเข่าตามมา และเมื่อแขนยืดเสร็จแล้ว ขาจะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมจะถีบน้ำ เมื่อถีบน้ำและรวบขาชิดกันแล้วก็จะกลับเข้าสู่กระบวนการในภาพที่ 1 ใหม่ โดยให้คุณยืดตัวไว้ประมาณ 1 - 2 วินาทีก่อน แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่

TIP OF BREASTSTROKE

ตามที่ตอนต้นบอกไว้ว่า มีเทคนิคพิเศษโดยสำหรับผู้ที่ว่ายผีเสื้อได้แล้วก็จะทราบ นั่นก็คือ การใส่เอวผีเสื้อเข้าไปในท่ากบด้วย โดยเมื่อคุณถีบขาให้ยืดแขนออกไป แล้วใช้สะโพกดันตัวไปข้างหน้าด้วย และคุณจะต้องก้มศีรษะตอนที่ยืดแขนออก ต่อมาให้เชิดคางขึ้นในจังหวะที่ใช้แขน จังหวะต่อจากรูปที่ 10 คือจังหวะที่คุณสามารถใส่เอวผีเสื้อเข้าไปได้ แต่ต้องระวังส่วนหนึ่ง คือ ศีรษะของคุณอาจจะต่ำเกินไป ทำให้ลงน้ำลึก ก็ควรจะแก้ไขโดยการยืดตัวและใส่เอวผีเสื้อ บริเวณผิวน้ำให้ได้

การเตะขาโดยใช้ kickboard ถือว่าเป็นท่าพื้นฐานที่สุด นักกีฬาส่วนมากมักจับที่ปลาย kickboard ด้านบน โดยยกศีรษะมองไปด้านหน้า โฟมช่วยพยุงส่วนบนของร่างกายไว้ บางคนต้องการให้ลำตัวส่วนบนลอยมากขึ้น ใช้ kickboard เพิ่มขึ้นมาอีก 1 อัน
ท่าว่ายน้ำที่ถูกต้อง ตำแหน่งศีรษะควรอยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง เกาะโฟมเตะขาตามองไปด้านหน้า จัดเป็นท่าที่ต่างจากท่าว่ายน้ำที่ถูกต้อง นักกีฬาควรจับ kickboard ตรงกลางของทั้งสองข้าง ก้มหน้าลง ตามองที่พื้น เมื่อต้องการหายใจให้เงยหน้าขึ้น
การจับ kickboard เตะขาใช้ได้ 3 ท่าคือ ผีเสื้อ กบ และฟรีสไตล์ กบเป็นท่าเดียวที่นักกีฬาควรขึ้นมาหายใจทุกจังหวะ จังหวะหายใจเป็นจังหวะพร้อมกับการลากส้นเท้าเข้าหาก้นก่อนถีบ จังหวะถีบขาให้ก้มหน้าลง ตามองพื้น
ระหว่างจับโฟมเตะขาท่าผีเสื้อและฟรีสไตล์ นักกีฬาสามารถฝึกกลั้นหายใจไปพร้อมกัน โดยการเตะขา ก้มหน้าลงใต้น้ำ และพยายามหายใจให้น้อยที่สุด จากขอบสระถึงขอบสระอีกฝั่ง การเตะขาท่าผีเสื้อ นักกีฬาควรสลับระหว่างฝึกกลั้นหายใจกับหายใจทุก 1 หรือ 2 จังหวะ เพราะนักกีฬาส่วนมากเวลาว่ายท่าผีเสื้อจะหายใจทุก 1 หรือ 2 จังหวะ จึงควรฝึกให้เหมือนกับเวลาว่าย
กรรเชียงเป็นท่าเดียวที่นักกีฬาไม่ควรใช้โฟมเวลาฝึกเตะขา การหนุนศีรษะลงไปบนโฟม แขน ลอดใต้โฟม มือจับที่ปลายส่วนบน ดูเหมือนกับท่านอนเล่นแช่น้ำมากกว่าฝึกเตะขา ควรใช้วิธีแขนเหยียดตรงชิดหูจะดีกว่า นักกีฬาสามารถเตะขาได้โดยลำตัวอยู่ในแนวนอนคล้ายกับท่าว่ายกรรเชียงมากที่สุด และนักกีฬายังจะได้ฝึกเตะขาใต้น้ำอีกด้วย เพราะถ้าจับโฟมนักกีฬาไม่สามารถดำลงใต้น้ำ
ผีเสื้อและกรรเชียงเป็นท่าว่ายน้ำที่นักกีฬาควรให้ความสนใจกับการฝึกเตะขาใต้น้ำเป็นพิเศษ