สังคมการเมืองไทย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย คณะราษฎร ซึ่งนำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดในการเมืองการปกครองของไทย เพราะเป็นการเปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญมีเป้าหมายจะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นหลักในการปกครอง
เมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จแล้ว ก็มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก แม้จะเป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวก็ตาม และหลักจากนั้นประเทศไทยก็ปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักมาโดยตลอด แม้จะมีการยุบเลิกรัฐธรรมนูญบ้างก็เป็นการชั่วครั้งชั่วคราว ในที่สุดก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาทดแทนเสมอไป คงกล่าวได้ว่า การปกครองของไทยนั้นพยายามที่จะยึดหลักการปกครองโดยกฎหมาย คือ ให้มีบทบัญญัติ กฎเกณฑ์ กติกาที่แน่นอนเป็นแนวทางในการปกครอง
ประเทศไทยมีการใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 รวมแล้ว 14 ฉบับ ทุกฉบับจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขึ้น แม้บทบัญญัติของธรรมนูญแต่ละฉบับ จะเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ตามหลักสากล เช่น ในทุก
ฉบับจะต้องมีสมาชิกรัฐสภาประเภทแต่งตั้งเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยร่วมกันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจาการเลือกตั้งอยู่เสมอ รัฐสภาบางสมัยมีสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด เป็นต้น ก็เป็นเพราะเหตุผลและความจำเป็นบางประการตามสถานการณ์ในขณะนั้น
การปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับประกาศเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนว่าต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งอาจวิเคราะห์แยกแยะหลักการสำคัญๆ ของการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยได้ดังนี้
1. อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับ กำหนดอำนาจอธิปไตยซึ่งถือเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครอง ให้มีการแบ่งแยกการใช้ออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจในการออกกฎหมาย อำนาจบริหาร หรืออำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้ และบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนและอำนาจตุลาการ หรืออำนาจในการตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น องค์กรที่ใช้อำนาจทั้ง 3 ส่วนนี้ คือ รัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และ ศาล เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ โดยใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ การกำหนดให้มีการแยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วน และให้มีองค์กร 3 ฝ่าย รับผิดชอบไปองค์กรแต่ละส่วนนี้ เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ที่ไม่ต้องการให้มีการรวมอำนาจแต่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าให้องค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจมากกว่าหนึ่งส่วนแล้วอาจเป็นช่องทางให้เกิดการใช้อำนาจแบบเผด็จการได้ เช่น ถ้าให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คณะรัฐมนตรีก็อาจจะออกกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และนำกฎหมายนั้นไปบังคับใช้เพื่อประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว การแยกอำนาจนั้นเป็นหลักประกันให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน
และป้องกันการใช้อำนาจเผด็จการ
2. รูปของรัฐ ประเทศไทยจัดว่าเป็นรัฐเดี่ยว รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกำหนดไว้ว่า ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ศูนย์อำนาจทางการเมืองและการปกครองมาจากแหล่งเดียวกัน ประชาชนทั้งหมดอยู่ภายใต้เอกรัฐ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามอำนาจหนึ่งอำนาจเดียว พร้อมทั้งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายเดียวกัน การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง
ประเทศ การปกครองภายในประเทศ แม้จะมีการแบ่งอำนาจการปกครองไปตามเขตการปกครอง เช่น จังหวัด อำเภอ ก็เป็นเพียงการแบ่งอำนาจตามลักษณะการปกครองส่วนภูมิภาค เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในส่วนกลางและความสะดวกของประชาชนในการรับบริการจากรัฐ อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง หน่วยงานในภูมิภาคเป็นเพียงผู้รับเอาไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่สามารถที่จะกำหนดการดำเนินการในความรับผิดชอบของตนโดยอิสระ
การปกครองระดับท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล รวมทั้งการปกครองรูปกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยานั้น แม้จะมีอิสระพอสมควรในการดำเนินการ และมีการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง มีลักษณะในการกระจายอำนาจ การปกครองแต่ก็ยังไม่เป็นอิสระหรือการปกครองตนเองอย่างแท้จริง รัฐบาลในส่วนกลางยังมีส่วนเข้าไปควบคุมหรือร่วมในการดำเนินการอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามการปกครองระดับท้องถิ่นนี้มีส่วนในการฝึกประชาชน ให้รู้จักการปกครอง
ตนเองตามหลักการประชาธิปไตย
3. ประมุขแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองไว้ว่าเป็น แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จำมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยปกติ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนโดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้ หมายความว่าอำนาจต่างๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ซึ่งในความเป็นจริงอำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่างๆ นั้นจึงเป็นการเฉลิมพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กร ที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
ย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมือง และกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติการทางการปกครองทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีพระราชอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญและเป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริงๆ ได้แก่ การตั้งคณะองคมนตรี การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น
พระราชอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง คือ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภามาแล้ว และนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ ก็อาจใช้พระราชอำนาจยับยั้งเสียก็ได้ ซึ่งรัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม่ แต่ในทางปฏิบัติไม่ปรากฏว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนี้
4. สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน รัฐธรรมนูญได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้อย่างกว้างขวาง สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นี้เป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตย คือ มีการระบุสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ไว้ครบครัน เช่น เสรีภาพในการแสดงออกในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม เป็นต้น รวมทั้งมีหลักประกัน ในเรื่องสิทธิต่างๆ คือ การละเมิดสิทธิจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญมีข้อจำกัดในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ คือ จะต้องไม่ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ส่วนหน้าที่ของชนชาวไทยทุกคนตามรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
(1) บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้
(2) บุคคลมีหน้าที่ที่จะใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
(3) บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
(4) บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
(5) บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(6) บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
(7) บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ
(8) บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
(9) บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์และป้องกันศิลปและวัฒนธรรมของชาติ
(10) บุคคลมีหน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ
5. การปกครองแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูฐกำหนดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา คือ ให้มีรัฐสภาเป็นหลักในการปกครอง ซึ่งนอกจากทำหน้าที่พิจารณาบัญญัติกฎหมาย และเป็นตัวแทนแสดงเจตนารมณ์แทนประชาชน แล้ว ยังเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการคัดเลือกนายกรัฐมนตรี และควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
5.1 องค์ประกอบของรัฐสภา รัฐสภาไทยเคยมีใช้ทั้งระบบสภาเดียวและระบบ 2 สภา แต่รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่รวมทั้งฉบับปัจจุบันมักใช้ระบบ 2 สภา คือ มีวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีลักษณะและหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. วุฒิสภา สมาชิกประกอบด้วยบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีซึ่งเท่ากับให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกสรร วุฒิสภาทำหน้าที่เป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ คอยกลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาและตัดสินปัญหาสำคัญๆ ของประเทศ เช่น การสถาปนาพระมหากษัตริย์ การประกาศสงคราม เป็นต้น จำนวนของวุฒิสมาชิกขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญกำหนดแต่ส่วนใหญ่มักกำหนดเป็นสัดส่วน และน้อยกว่าจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กำหนดให้มี 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระในการดำรงตำแหน่งของวุฒิสมาชิก คือ 4 ปีอย่างไรก็ตามที่มาของวุฒิสมาชิกอาจได้มาโดยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ
2. สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เว้นแต่จะมีการยุบสภาก่อนครบวาระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจนิติบัญญัติ
วุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย แม้ว่าฝ่ายแรกจะมาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายหลังมาจากการเลือกตั้ง แต่การใช้อำนาจนิติบัญญัตินั้นเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้วจะเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมีมากกว่า เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติแต่วุฒิสมาชิกไม่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคล แต่วุฒิสมาชิกไม่มี ส่วนอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วของวุฒิสภาก็ไม่ใช่อำนาจเด็ดขาด เพราะถ้าสภาผู้แทนราษฎร โดยที่มีเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยังยืนยันตามเดิม ก็ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญบางฉบับก็กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นบางฉบับก็ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ในตอนแรกกำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา แต่ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ทั้งนี้ให้บังคับใช้หลังมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
5.2 หน้าที่ของรัฐสภา รัฐสภาเป็นสถาบันตัวแทนแสดงเจตนารมณ์แทนประชาชน มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. การบัญญัติกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา คือ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แต่การเสนอโดยคณะรัฐมนตรีจะทำได้ง่ายกว่า ดังตัวอย่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดว่า ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอจะต้องได้รับมติเห็นชอบจากพรรคการเมืองที่ผู้เสนอสังกัดอยู่ และมี ส.ส. พรรคเดียวกันลงชื่อร่วมสนับสนุน อีกอย่างน้อย 20 คน การพิจารณาจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณาก่อน หากเห็นชอบให้เสนอต่อวุฒิสภาให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วย ถือว่าผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยก็จะใช้สิทธิยับยั้ง ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาใหม่ หากยืนยันความเห็นเดิมโดยมติที่มีเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกก็ถือว่า พระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติใดหากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย ก็ไม่สามารถที่จะเป็นกฎหมายขึ้นมาได้
2. ควบคุมฝ่ายบริหาร รัฐสภามีหน้าที่ควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรีทำได้หลายวิธี คือ
1. การพิจารณานโยบายของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีก่อนเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะดำเนินการบริหารประเทศอย่างไร ปกติรัฐสภาจะพิจารณาและลงมติว่า สมควรให้ความเห็นชอบไว้วางใจหรือไม่ หากไม่ให้ความไว้วางใจ รัฐบาลก็ต้องลาออก แต่ปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญ กำหนดให้รัฐสภาเพียงแต่รับฟังและอภิปรายแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ไม่มีการลงมติ
2. การตั้งกระทู้ถาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐบาล หรือรัฐมนตรีรายบุคคล เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือเรื่องที่อยู่ในหน้าที่ แต่รัฐบาลหรือรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบ ถ้าเห็นว่าเรื่องที่ตั้งกระทู้นั้นเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดินที่ยังไม่ควรเปิดเผยการตอบกระทู้ถามในแต่ละสภาอาจตอบในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ถาม
3. การยื่นญัติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะในกรณีที่เห็นว่าดำเนินการบริหารเป็นผลเสียต่อส่วนรวม ปกติการอภิปรายและลงมตินั้นกระทำในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น มติไม่ไว้วางใจจะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรจึงจะมีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญ
การควบคุมฝ่ายบริหารโดยการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปนี้ถือว่าเป็นวิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่สุด และจุดประสงค์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้เปิดได้ไม่ยากนัก เพื่อให้ ส.ส. มีโอกาสตรวจสอบการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี จะเห็นได้จากการกำหนดจำนวน ส.ส. ที่จะยื่นญัตติไว้เพียง 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดแม้ว่าในการเปิดอภิปรายแต่ละครั้ง เมื่อลงมติกันแล้ว คะแนนไม่ไว้วางใจมักจะไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.เพราะการลงคะแนนจะเป็นไปตามระบบพรรค ฝ่ายรัฐบาลจะมี ส.ส. เกินครึ่งอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีผลที่จะทำให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งด้วยมติ แต่เนื้อหาถ้อยความในการอภิปรายนั้นจะได้รับการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบทำให้ผู้ถูกอภิปรายอาจเสียคะแนนนิยมได้ ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในการตอบโต้ข้อบกพร่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปราย อย่างไรก็ตาม ส.ส. แต่ละคน จะมีสิทธิลงชื่อในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายนี้เพียงสมัยประชุมละครั้งเดียว
6. คณะรัฐมนตรี รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และต้องรับผิดชอบร่วมกันในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎร หมายความว่า สภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิที่จะควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรี เพราะสภาผู้แทนราษฎรเป็นสถาบันตัวแทนแสดงเจตจำนงของประชาชน ถ้าเห็นว่า คณะรัฐมนตรีดำเนินการบริหารบกพร่องหรือไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนก็อาจเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะมีผลให้รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งไป
เมื่อรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาควบคุมรัฐบาล ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลมีสิทธิควบคุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย เป็นการถ่วงดุลแห่งอำนาจ ไม่ให้ฝ่ายใดมีอำนาจมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเกินไปเครื่องมือควบคุมสภาผู้แทนราษฎรคือ การยุบสภา นายกรัฐมนตรีมีสิทธิทูลเกล้าฯ เสนอเพื่อพระมหากษัตริย์ ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาได้ การยุบสภา คือ การให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน เพราะฉะนั้นใน กรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องระมัดระวังบทบาทพอสมควรเช่นกัน เพราะแทนที่รัฐบาลจะเลือกเอาการลาออกหรือยอมให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลอาจเลือกเอาการยุบสภามาใช้ก็ได้ โดยปกติตามหลักการประชาธิปไตย เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น รัฐบาลตราพระราชกำหนดออกมาบังคับใช้ แต่สภาสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เป็นต้น เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น ปกติรัฐบาลจะลาออกเมื่อเห็นว่าในข้อขัดแย้งนั้นประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปิดโอกาสให้สภาผู้แทนราษฎรจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และรัฐบาลจะยุบสภาในกรณีที่เห็นว่าประชาชนสนับสนุนรัฐบาลมากกว่ารัฐสภา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนรัฐบาลต่อไป เรื่องยุบสภานี้เป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภาแต่อย่างใด
6.1 องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีร่วมคณะ อีกจำนวนไม่เกินที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ให้มีรัฐมนตรีไม่เกิน 48 คน นอกเหนือจากนายกรัฐมนตรี ปกตินายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกนายกรัฐมนตรีนั่นเอง และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้คัดเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะซึ่งการคัดเลือกมักจะต้องคำนึงถึงเสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก เพราะรัฐบาลต้องได้รับเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุน การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในการแต่งตั้งรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง
พระบรมราชโองการ
6.2 อำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี อำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมีหลายประการ ได้แก่ อำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภา การตราพระราชกำหนด การตราพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีได้รับการกำหนดให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน นอกจากนี้ในฐานะเป็นรัฐบาล คณะรัฐมนตรีต้องทำหน้าที่ประสานงาน ระหว่างกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ วางระเบียบข้อบังคับให้กระทรวง ทบวง กรม ถือปฏิบัติและพิจารณาลงมติเรื่องต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรมเสนอมาและยังมีอำนาจหน้าที่อีกหลายประการที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่นๆ
7. ตุลาการ อำนาจตุลาการหรืออำนาจในการตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย อำนาจนี้เป็นของศาลยุติธรรมทั้งหลาย เป็นอำนาจที่สำคัญที่สุดอำนาจหนึ่ง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น ฝ่ายตุลาการจึงต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย สำหรับการปกครองไทย หลักประกันสำหรับตุลาการที่จะมีอิสระในการวินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลจากฝ่ายอื่นที่บีบบังคับเปลี่ยนคำพิพากษา คือ กำหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวงการตุลาการทั้งสิ้น ทั้งจากการเลือกตั้งโดยตุลาการด้วยกัน และโดยตำแหน่ง มีประธานศาลฎีกาเป็นประธานคณะกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง
คณะกรรมการตุลาการเป็นองค์กรอิสระในการดำเนินการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่งและเลื่อนเงินเดือนผู้พิพากษา หมายความว่า การให้คุณให้โทษกับผู้พิพากษานั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตุลาการ ฝ่ายบริหารหรือรัฐมนตรีจะดำเนินการตามใจชอบไม่ได้ การกำหนดเช่นนี้ทำให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถใช้อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินคดีของผู้พิพากษาได้ และทำให้อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอิสระ สามารถที่จะถ่วงดุลกับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารได้ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
8. ตุลาการรัฐธรรมนูญ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ในการปกครองของไทยจะเห็นได้จากการจัดตั้งให้มี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบพิจารณาว่า การกระทำหรือกฎหมาย ที่ยกร่างขึ้นนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดหรือแย้งก็กระทำไม่ได้หรือเป็นโมฆะ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติสูงสุด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธาน ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ หรือ รัฐศาสตร์อีก 6 คน ที่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งมาสภาละ 3 คน (ซึ่งจะต้องไม่ได้เป็นสมาชิกสภาทั้งระดับรัฐและท้องถิ่น ข้าราชการประจำพนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานท้องถิ่น) ร่วมเป็นกรรมการด้วย ผู้มีสิทธิร้องขอให้คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาการกระทำใดๆ หรือร่างพระราชบัญญัติ และกฎหมายที่ใช้บังคับคดีว่าขัดแย้งต่อบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ คือ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภา (ตามจำนวนและเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด) และศาล
9. การปกครองท้องถิ่น การปกครองของไทยให้ความสำคัญต่อการปกครองท้องถิ่น และใช้หลักการกระจายอำนาจ จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า รัฐพึงส่งเสริมท้องถิ่นให้มีสิทธิปกครองตนเองได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ปัจจุบันมีการจัดหน่วยการ ปกครองท้องถิ่นหลายแบบและหลายระดับ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เป็นต้น แต่ละแบบก็ให้สิทธิประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามลักษณะการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น สามารถดำเนินการของตนเองได้ อย่างไรก็ตามในพฤติกรรมความเป็นจริงรัฐบาลในส่วนกลาง หรือฝ่ายบริหารก็มีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมการปกครองท้องถิ่นอยู่มาก โดยเฉพาะในบางรูป เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล และสภาตำบล และบางรูป คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ในบางสมัยก็ใช้วิธีการแต่งตั้งแทนการเลือกตั้ง เป็นต้น
10. พรรคการเมือง โดยปกติในการปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีพรรคการเมืองเพราะพรรคการเมืองเป็นที่สร้างพลังให้กับอุดมการณ์ เป็นที่ที่อาจค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน และเป็นสถาบันที่ทำให้คนต่างท้องถิ่นสามารถร่วมมือกันทางการเมืองได้ ในไทยพรรคการเมืองก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะแต่ละครั้งที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งจะมีการรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมืองเสมอ แม้ในบางสมัยจะไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญก็เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ จึงมีการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคการเมือง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายเป็นทางการก็ตาม อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองของไทยมีบทบาทในวงแคบ คือ มีผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ เป็นนักการเมือง ประชาชนโดยทั่วไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองไม่มากนัก
11. การเลือกตั้ง เป็นวิธีการสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตนเพราะเป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชนประเทศไทยเริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2476 แต่การเลือกตั้งไม่ได้มีประจำสม่ำเสมอมีว่างเว้นในระยะที่ใช้รัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราวภายหลังการปฏิวัติ อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งเท่าที่เคยมีมาก็มีลักษณะแบบประชาธิปไตย ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความสะดวก ตลอดจนหลักประกันในการใช้สิทธิใช้เสียง ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบโดยตรง คือ ประชาชนเลือก ส.ส. โดยมีครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คือ ประชาชนเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลไปเลือก ส.ส. อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งที่มีมาเคยใช้ทั้งรวมเขตและแบ่งเขต ระยะหลังมีแนวโน้มที่ใช้ระบบผสมคือ จังหวัดไหนมี ส.ส. จำนวนมากก็ใช้วิธีแบ่งเขต โดยมีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่เขตหนึ่งจะพึงมีเอาไว้ เกินจากนั้นต้องใช้วิธีแบ่งเขต ส่วนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงนั้น เมื่อก่อนมีผู้ไปลงคะแนนมักจะไม่ถึงครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ แต่ในระยะหลัง มีแนวโน้มดีขึ้น คือ มีผู้ใช้สิทธิกว่าครึ่งประมาณร้อยละ 60 อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็ยังมีจุดอ่อน กล่าวคือ มีการซื้อเสียงและใช้เงินในการหาเสียงเกินกว่าที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนดไว้ ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้ไม่ได้ ผู้ที่เป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริงและแนวทางประชาธิปไตยกลายเป็นประโยชน์สำหรับนายทุนและนักธุรกิจแทนที่จะเป็นประชาชน
การเมืองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
ประชาชนไทยมีเสรีภาพทางการเมืองพอสมควร สามารถที่จะแสดงออกทางการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมือง แม้จะยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองมารองรับ เช่น ในกาเลือกตั้งหลายครั้งแม้ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง แต่ในพฤติกรรมความเป็นจริงนั้น ก็มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นพลายพรรค โดยอาศัยเสรีภาพที่ได้รับการยอมรับโดยรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแม่บทการรวมกลุ่มเป็นสมาคมสหภาพ ก็สามารถทำได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น การเดินขบวน หรือการชุมนุมกันเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ก็มีปรากฏและไม่ได้รับการขัดขวางในการแสดงออก ตราบเท่าที่ไม่มีการละเมิดกฎหมาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์และโฆษณา ซึ่งเป็นไปอย่างกว้างขวาง จนน่าจะเป็นที่ยอมรับว่าประเทศไทยนั้น ให้เสรีภาพทางการเมืองแก่ประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศให้กฎอัยการศึก และมีประกาศหรือคำสั่งและกฎหมายบางฉบับจำกัดเสรีภาพในทางการเมืองบ้าง แต่ในทางปฏิบัติก็มีการผ่อนผันและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้จนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการแสดงออกทางการเมือง
ถ้าพิจารณาจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534 และรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ใช้มาก่อนหน้านั้น จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการพัฒนาทางการเมืองของไทยต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีระบบพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมาก เป็นต้นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังกำหนดว่า เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วจะพ้นจากการเป็น ส.ส.ทันทีที่ลาออกหรือถูกขับไล่ออกจากพรรค จึงทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการในสภา นอกจากนี้ พะราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยังพยายามวางแนวทางให้พรรคการเมืองมีลักษณะเป็นพรรคที่มีฐานสนับสนุนจากมวลชนอย่างกว้างขวาง กล่าวคือต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน และต้องอยู่ในทุกภาค ภาคละไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด จังหวัดหนึ่งต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน
การเมืองระดับท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นระดับ และรูปแบบที่สำคัญนั้นก็ได้มีการเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา หลังจากที่ได้งดเว้นมานาน ปัจจุบันนี้ก็ได้ให้มีการดำเนินการ การปกครองระดับท้องถิ่นในแบบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการเมืองระดับท้องถิ่นนี้ก็ยังไม่สู้ได้รับการสนใจจากประชาชนอย่างกว้างขวางนัก จะเห็นได้จากการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก รูปแบบลักษณะของหน่วยการปกครองท้องถิ่นก็ยังค่อนข้างเป็นไปแบบเดิม คือ ไม่สู้อิสระในการดำเนินการมากนัก ทางการยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมและดำเนินการอยู่และยังได้รับความสนใจอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการที่จะเห็นรูปการเมืองการปกครองไทยพัฒนาไปสู่รูปแบบความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หากประชาชนมีความตื่นตัวและมีความสำนึกทางการเมืองสามารถใช้วิจารณญาณทางการเมืองได้ถูกต้อง สนใจที่จะใช้สิทธิทางการเมืองลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเลือกผู้แทนราษฎรที่ดีเข้าสู่สภา บทบาท และพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ก็จะต้องพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ ทำให้ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแพร่หลายขึ้นและเมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีเสถียรภาพมั่นคงอยู่คู่กับการปกครองไทยตลอดไป
ปัจจุบันนี้จากการพิจารณาบรรยากาศการเมืองไทย อาจกล่าวได้ว่า มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ประชาชนมีความตื่นตัวและมีจิตสำนึกทางการเมืองมากขึ้น จะเห็นได้จากสถิติผู้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะหลังมีจำนวนเกินครึ่งทุกครั้ง (การเลือกตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 มีผู้ไปลงคะแนนจำนวนร้อยละ 50.76 การเลือกตั้งเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ร้อยละ 61.43 การเลือกตั้งเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ร้อยละ 63.56 และการเลือกตั้งเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ร้อยละ 61.59) มีการเผยแพร่ข่าวสารการเมืองอย่างกว้างขวางโดยสื่อมวลชนทุกประเภททั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ทำให้ประชาชนสนใจและเข้าใจการเมืองมากขึ้น แม้ว่าจะยังมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอยู่บ้าง เช่น การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเงินที่เข้ามามีบทบาทสูงในการเลือกตั้ง หรือการที่นักการเมืองบางคน มีบทบาทเป็นนักธุรกิจการเมืองแต่ในการเมืองระบบเปิด และในยุคที่ข่าวสารที่แพร่หลายได้กว้างขวางเช่นทุกวันนี้ ก็คงพอที่จะให้ความเชื่อมั่นได้ว่า ประชาชนจะมีส่วนช่วยควบคุมให้การเมืองพัฒนาไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้กับประชาชนโดยส่วนรวมมากขึ้น เพราะการกระทำที่ไม้ชอบมาพากลของนักการเมืองจะถูกเปิดเผยให้ทราบต่อสาธารณะทำให้ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องระมัดระวัง พฤติกรรมของตนตามสมควร
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่าในระบอบประชาธิปไตย นอกจากกลุ่มนักการเมืองที่รวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองในระดับชาติ หรือกลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่นที่รวมตัวกันเพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้งในระดับต่างๆ แล้วยังต้องการให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนในลักษณะกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอุดมการณ์ กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ที่ไม่ต้องการเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ทำหน้าที่แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาหรือประเด็นการเมืองที่เกิดขึ้น แสงดความต้องการให้ผู้ปกครองรับทราบ ทำให้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องของกลุ่มเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ในการเมืองไทยก็มีกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งที่จัดตั้งเป็นทางการ เช่น สหภาพ สมาคม หรือจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่ม ชมรมต่างๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มเฉพาะกิจ หรือเฉพาะกาลเป็นครั้งคราว เข้ามามีบทบาทในทางการเาองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายตามที่กลุ่มชนต้องการ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นักศึกษา กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา ก็มีการชุมนุมหรือเดินขบวนเพื่อให้ทางการได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มหรือกับส่วนรวมอยู่เสมอ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาพืชผลราคาตกต่ำ ทำให้รัฐบาลต้องตื่นตัวอยู่เสมอในอันที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ตราบเท่าที่ไม่มีการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย เพราะเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการพยายามสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ยังมีสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่จะขาดเสียมิได้ คือ ประชาชนทุกคนต้องมี ขันติธรรม กล่าวคือ สมาชิกในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นผู้มีความอดกลั้น อดทนอย่างยิ่ง ต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่ไม่ตรงกับความเห็นของตนได้ ต้องรอฟังความเห็นส่วนใหญ่จากบรรดาผู้เกี่ยวข้องในการที่จะดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งต้องทนต่อสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ กระบวนการของประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องอาศัยเวลา ต้องค่อยเป็นค่อยไปและต้องมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง สมาชิกของสังคมนี้จึงต้องได้รับการปลูกฝังคุณสมบัติดังกล่าวตั้งแต่เยาว์วัยและพัฒนาขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การปฏิวัติ (การหมุนกลับ การเปลี่ยนแปลงระบบ) หรือการรัฐประหาร (มีการใช้กำลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน) จึงเป็นวิธีการซึ่งขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยและไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาการปกครองระบอบนี้อย่างแน่นอน เพราะทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารจะต้องมีการล้มเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นจึงต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดตั้งรัฐบาลกันใหม่ทุกครั้งไป เป็นเหตุให้ผลประโยชน์ของชาติบ้านเมืองและของประชาชนต้องชะงักงันไป
เมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จแล้ว ก็มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก แม้จะเป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวก็ตาม และหลักจากนั้นประเทศไทยก็ปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักมาโดยตลอด แม้จะมีการยุบเลิกรัฐธรรมนูญบ้างก็เป็นการชั่วครั้งชั่วคราว ในที่สุดก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาทดแทนเสมอไป คงกล่าวได้ว่า การปกครองของไทยนั้นพยายามที่จะยึดหลักการปกครองโดยกฎหมาย คือ ให้มีบทบัญญัติ กฎเกณฑ์ กติกาที่แน่นอนเป็นแนวทางในการปกครอง
ประเทศไทยมีการใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 รวมแล้ว 14 ฉบับ ทุกฉบับจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขึ้น แม้บทบัญญัติของธรรมนูญแต่ละฉบับ จะเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ตามหลักสากล เช่น ในทุก
ฉบับจะต้องมีสมาชิกรัฐสภาประเภทแต่งตั้งเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยร่วมกันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจาการเลือกตั้งอยู่เสมอ รัฐสภาบางสมัยมีสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด เป็นต้น ก็เป็นเพราะเหตุผลและความจำเป็นบางประการตามสถานการณ์ในขณะนั้น
การปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับประกาศเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนว่าต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งอาจวิเคราะห์แยกแยะหลักการสำคัญๆ ของการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยได้ดังนี้
1. อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับ กำหนดอำนาจอธิปไตยซึ่งถือเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครอง ให้มีการแบ่งแยกการใช้ออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจในการออกกฎหมาย อำนาจบริหาร หรืออำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้ และบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนและอำนาจตุลาการ หรืออำนาจในการตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น องค์กรที่ใช้อำนาจทั้ง 3 ส่วนนี้ คือ รัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และ ศาล เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ โดยใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ การกำหนดให้มีการแยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วน และให้มีองค์กร 3 ฝ่าย รับผิดชอบไปองค์กรแต่ละส่วนนี้ เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ที่ไม่ต้องการให้มีการรวมอำนาจแต่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าให้องค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจมากกว่าหนึ่งส่วนแล้วอาจเป็นช่องทางให้เกิดการใช้อำนาจแบบเผด็จการได้ เช่น ถ้าให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คณะรัฐมนตรีก็อาจจะออกกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และนำกฎหมายนั้นไปบังคับใช้เพื่อประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว การแยกอำนาจนั้นเป็นหลักประกันให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน
และป้องกันการใช้อำนาจเผด็จการ
2. รูปของรัฐ ประเทศไทยจัดว่าเป็นรัฐเดี่ยว รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกำหนดไว้ว่า ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ศูนย์อำนาจทางการเมืองและการปกครองมาจากแหล่งเดียวกัน ประชาชนทั้งหมดอยู่ภายใต้เอกรัฐ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามอำนาจหนึ่งอำนาจเดียว พร้อมทั้งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายเดียวกัน การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง
ประเทศ การปกครองภายในประเทศ แม้จะมีการแบ่งอำนาจการปกครองไปตามเขตการปกครอง เช่น จังหวัด อำเภอ ก็เป็นเพียงการแบ่งอำนาจตามลักษณะการปกครองส่วนภูมิภาค เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในส่วนกลางและความสะดวกของประชาชนในการรับบริการจากรัฐ อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง หน่วยงานในภูมิภาคเป็นเพียงผู้รับเอาไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่สามารถที่จะกำหนดการดำเนินการในความรับผิดชอบของตนโดยอิสระ
การปกครองระดับท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล รวมทั้งการปกครองรูปกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยานั้น แม้จะมีอิสระพอสมควรในการดำเนินการ และมีการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง มีลักษณะในการกระจายอำนาจ การปกครองแต่ก็ยังไม่เป็นอิสระหรือการปกครองตนเองอย่างแท้จริง รัฐบาลในส่วนกลางยังมีส่วนเข้าไปควบคุมหรือร่วมในการดำเนินการอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามการปกครองระดับท้องถิ่นนี้มีส่วนในการฝึกประชาชน ให้รู้จักการปกครอง
ตนเองตามหลักการประชาธิปไตย
3. ประมุขแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองไว้ว่าเป็น แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จำมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยปกติ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนโดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้ หมายความว่าอำนาจต่างๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ซึ่งในความเป็นจริงอำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่างๆ นั้นจึงเป็นการเฉลิมพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กร ที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
ย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมือง และกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติการทางการปกครองทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีพระราชอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญและเป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริงๆ ได้แก่ การตั้งคณะองคมนตรี การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น
พระราชอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง คือ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภามาแล้ว และนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ ก็อาจใช้พระราชอำนาจยับยั้งเสียก็ได้ ซึ่งรัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม่ แต่ในทางปฏิบัติไม่ปรากฏว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนี้
4. สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน รัฐธรรมนูญได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้อย่างกว้างขวาง สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นี้เป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตย คือ มีการระบุสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ไว้ครบครัน เช่น เสรีภาพในการแสดงออกในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม เป็นต้น รวมทั้งมีหลักประกัน ในเรื่องสิทธิต่างๆ คือ การละเมิดสิทธิจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญมีข้อจำกัดในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ คือ จะต้องไม่ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ส่วนหน้าที่ของชนชาวไทยทุกคนตามรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
(1) บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้
(2) บุคคลมีหน้าที่ที่จะใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
(3) บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
(4) บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
(5) บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(6) บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
(7) บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ
(8) บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
(9) บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์และป้องกันศิลปและวัฒนธรรมของชาติ
(10) บุคคลมีหน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ
5. การปกครองแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูฐกำหนดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา คือ ให้มีรัฐสภาเป็นหลักในการปกครอง ซึ่งนอกจากทำหน้าที่พิจารณาบัญญัติกฎหมาย และเป็นตัวแทนแสดงเจตนารมณ์แทนประชาชน แล้ว ยังเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการคัดเลือกนายกรัฐมนตรี และควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
5.1 องค์ประกอบของรัฐสภา รัฐสภาไทยเคยมีใช้ทั้งระบบสภาเดียวและระบบ 2 สภา แต่รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่รวมทั้งฉบับปัจจุบันมักใช้ระบบ 2 สภา คือ มีวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีลักษณะและหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. วุฒิสภา สมาชิกประกอบด้วยบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีซึ่งเท่ากับให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกสรร วุฒิสภาทำหน้าที่เป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ คอยกลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาและตัดสินปัญหาสำคัญๆ ของประเทศ เช่น การสถาปนาพระมหากษัตริย์ การประกาศสงคราม เป็นต้น จำนวนของวุฒิสมาชิกขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญกำหนดแต่ส่วนใหญ่มักกำหนดเป็นสัดส่วน และน้อยกว่าจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กำหนดให้มี 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระในการดำรงตำแหน่งของวุฒิสมาชิก คือ 4 ปีอย่างไรก็ตามที่มาของวุฒิสมาชิกอาจได้มาโดยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ
2. สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เว้นแต่จะมีการยุบสภาก่อนครบวาระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชนในการใช้อำนาจนิติบัญญัติ
วุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย แม้ว่าฝ่ายแรกจะมาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายหลังมาจากการเลือกตั้ง แต่การใช้อำนาจนิติบัญญัตินั้นเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้วจะเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมีมากกว่า เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติแต่วุฒิสมาชิกไม่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคล แต่วุฒิสมาชิกไม่มี ส่วนอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วของวุฒิสภาก็ไม่ใช่อำนาจเด็ดขาด เพราะถ้าสภาผู้แทนราษฎร โดยที่มีเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยังยืนยันตามเดิม ก็ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญบางฉบับก็กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นบางฉบับก็ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ในตอนแรกกำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา แต่ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ทั้งนี้ให้บังคับใช้หลังมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
5.2 หน้าที่ของรัฐสภา รัฐสภาเป็นสถาบันตัวแทนแสดงเจตนารมณ์แทนประชาชน มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. การบัญญัติกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา คือ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แต่การเสนอโดยคณะรัฐมนตรีจะทำได้ง่ายกว่า ดังตัวอย่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดว่า ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอจะต้องได้รับมติเห็นชอบจากพรรคการเมืองที่ผู้เสนอสังกัดอยู่ และมี ส.ส. พรรคเดียวกันลงชื่อร่วมสนับสนุน อีกอย่างน้อย 20 คน การพิจารณาจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณาก่อน หากเห็นชอบให้เสนอต่อวุฒิสภาให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วย ถือว่าผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยก็จะใช้สิทธิยับยั้ง ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาใหม่ หากยืนยันความเห็นเดิมโดยมติที่มีเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกก็ถือว่า พระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติใดหากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย ก็ไม่สามารถที่จะเป็นกฎหมายขึ้นมาได้
2. ควบคุมฝ่ายบริหาร รัฐสภามีหน้าที่ควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรีทำได้หลายวิธี คือ
1. การพิจารณานโยบายของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีก่อนเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะดำเนินการบริหารประเทศอย่างไร ปกติรัฐสภาจะพิจารณาและลงมติว่า สมควรให้ความเห็นชอบไว้วางใจหรือไม่ หากไม่ให้ความไว้วางใจ รัฐบาลก็ต้องลาออก แต่ปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญ กำหนดให้รัฐสภาเพียงแต่รับฟังและอภิปรายแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ไม่มีการลงมติ
2. การตั้งกระทู้ถาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐบาล หรือรัฐมนตรีรายบุคคล เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือเรื่องที่อยู่ในหน้าที่ แต่รัฐบาลหรือรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบ ถ้าเห็นว่าเรื่องที่ตั้งกระทู้นั้นเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดินที่ยังไม่ควรเปิดเผยการตอบกระทู้ถามในแต่ละสภาอาจตอบในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ถาม
3. การยื่นญัติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะในกรณีที่เห็นว่าดำเนินการบริหารเป็นผลเสียต่อส่วนรวม ปกติการอภิปรายและลงมตินั้นกระทำในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น มติไม่ไว้วางใจจะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรจึงจะมีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญ
การควบคุมฝ่ายบริหารโดยการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปนี้ถือว่าเป็นวิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่สุด และจุดประสงค์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้เปิดได้ไม่ยากนัก เพื่อให้ ส.ส. มีโอกาสตรวจสอบการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี จะเห็นได้จากการกำหนดจำนวน ส.ส. ที่จะยื่นญัตติไว้เพียง 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดแม้ว่าในการเปิดอภิปรายแต่ละครั้ง เมื่อลงมติกันแล้ว คะแนนไม่ไว้วางใจมักจะไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.เพราะการลงคะแนนจะเป็นไปตามระบบพรรค ฝ่ายรัฐบาลจะมี ส.ส. เกินครึ่งอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีผลที่จะทำให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งด้วยมติ แต่เนื้อหาถ้อยความในการอภิปรายนั้นจะได้รับการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบทำให้ผู้ถูกอภิปรายอาจเสียคะแนนนิยมได้ ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในการตอบโต้ข้อบกพร่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปราย อย่างไรก็ตาม ส.ส. แต่ละคน จะมีสิทธิลงชื่อในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายนี้เพียงสมัยประชุมละครั้งเดียว
6. คณะรัฐมนตรี รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และต้องรับผิดชอบร่วมกันในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎร หมายความว่า สภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิที่จะควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรี เพราะสภาผู้แทนราษฎรเป็นสถาบันตัวแทนแสดงเจตจำนงของประชาชน ถ้าเห็นว่า คณะรัฐมนตรีดำเนินการบริหารบกพร่องหรือไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนก็อาจเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะมีผลให้รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งไป
เมื่อรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาควบคุมรัฐบาล ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลมีสิทธิควบคุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย เป็นการถ่วงดุลแห่งอำนาจ ไม่ให้ฝ่ายใดมีอำนาจมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเกินไปเครื่องมือควบคุมสภาผู้แทนราษฎรคือ การยุบสภา นายกรัฐมนตรีมีสิทธิทูลเกล้าฯ เสนอเพื่อพระมหากษัตริย์ ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาได้ การยุบสภา คือ การให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน เพราะฉะนั้นใน กรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องระมัดระวังบทบาทพอสมควรเช่นกัน เพราะแทนที่รัฐบาลจะเลือกเอาการลาออกหรือยอมให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลอาจเลือกเอาการยุบสภามาใช้ก็ได้ โดยปกติตามหลักการประชาธิปไตย เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น รัฐบาลตราพระราชกำหนดออกมาบังคับใช้ แต่สภาสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เป็นต้น เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น ปกติรัฐบาลจะลาออกเมื่อเห็นว่าในข้อขัดแย้งนั้นประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปิดโอกาสให้สภาผู้แทนราษฎรจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และรัฐบาลจะยุบสภาในกรณีที่เห็นว่าประชาชนสนับสนุนรัฐบาลมากกว่ารัฐสภา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนรัฐบาลต่อไป เรื่องยุบสภานี้เป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภาแต่อย่างใด
6.1 องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีร่วมคณะ อีกจำนวนไม่เกินที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ให้มีรัฐมนตรีไม่เกิน 48 คน นอกเหนือจากนายกรัฐมนตรี ปกตินายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกนายกรัฐมนตรีนั่นเอง และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้คัดเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะซึ่งการคัดเลือกมักจะต้องคำนึงถึงเสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก เพราะรัฐบาลต้องได้รับเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุน การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในการแต่งตั้งรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง
พระบรมราชโองการ
6.2 อำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี อำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมีหลายประการ ได้แก่ อำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภา การตราพระราชกำหนด การตราพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีได้รับการกำหนดให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน นอกจากนี้ในฐานะเป็นรัฐบาล คณะรัฐมนตรีต้องทำหน้าที่ประสานงาน ระหว่างกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ วางระเบียบข้อบังคับให้กระทรวง ทบวง กรม ถือปฏิบัติและพิจารณาลงมติเรื่องต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรมเสนอมาและยังมีอำนาจหน้าที่อีกหลายประการที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่นๆ
7. ตุลาการ อำนาจตุลาการหรืออำนาจในการตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย อำนาจนี้เป็นของศาลยุติธรรมทั้งหลาย เป็นอำนาจที่สำคัญที่สุดอำนาจหนึ่ง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น ฝ่ายตุลาการจึงต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย สำหรับการปกครองไทย หลักประกันสำหรับตุลาการที่จะมีอิสระในการวินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลจากฝ่ายอื่นที่บีบบังคับเปลี่ยนคำพิพากษา คือ กำหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวงการตุลาการทั้งสิ้น ทั้งจากการเลือกตั้งโดยตุลาการด้วยกัน และโดยตำแหน่ง มีประธานศาลฎีกาเป็นประธานคณะกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง
คณะกรรมการตุลาการเป็นองค์กรอิสระในการดำเนินการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่งและเลื่อนเงินเดือนผู้พิพากษา หมายความว่า การให้คุณให้โทษกับผู้พิพากษานั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตุลาการ ฝ่ายบริหารหรือรัฐมนตรีจะดำเนินการตามใจชอบไม่ได้ การกำหนดเช่นนี้ทำให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถใช้อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินคดีของผู้พิพากษาได้ และทำให้อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอิสระ สามารถที่จะถ่วงดุลกับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารได้ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
8. ตุลาการรัฐธรรมนูญ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ในการปกครองของไทยจะเห็นได้จากการจัดตั้งให้มี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบพิจารณาว่า การกระทำหรือกฎหมาย ที่ยกร่างขึ้นนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดหรือแย้งก็กระทำไม่ได้หรือเป็นโมฆะ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติสูงสุด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธาน ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ หรือ รัฐศาสตร์อีก 6 คน ที่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งมาสภาละ 3 คน (ซึ่งจะต้องไม่ได้เป็นสมาชิกสภาทั้งระดับรัฐและท้องถิ่น ข้าราชการประจำพนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานท้องถิ่น) ร่วมเป็นกรรมการด้วย ผู้มีสิทธิร้องขอให้คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาการกระทำใดๆ หรือร่างพระราชบัญญัติ และกฎหมายที่ใช้บังคับคดีว่าขัดแย้งต่อบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ คือ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภา (ตามจำนวนและเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด) และศาล
9. การปกครองท้องถิ่น การปกครองของไทยให้ความสำคัญต่อการปกครองท้องถิ่น และใช้หลักการกระจายอำนาจ จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า รัฐพึงส่งเสริมท้องถิ่นให้มีสิทธิปกครองตนเองได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ปัจจุบันมีการจัดหน่วยการ ปกครองท้องถิ่นหลายแบบและหลายระดับ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เป็นต้น แต่ละแบบก็ให้สิทธิประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามลักษณะการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น สามารถดำเนินการของตนเองได้ อย่างไรก็ตามในพฤติกรรมความเป็นจริงรัฐบาลในส่วนกลาง หรือฝ่ายบริหารก็มีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมการปกครองท้องถิ่นอยู่มาก โดยเฉพาะในบางรูป เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล และสภาตำบล และบางรูป คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ในบางสมัยก็ใช้วิธีการแต่งตั้งแทนการเลือกตั้ง เป็นต้น
10. พรรคการเมือง โดยปกติในการปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีพรรคการเมืองเพราะพรรคการเมืองเป็นที่สร้างพลังให้กับอุดมการณ์ เป็นที่ที่อาจค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน และเป็นสถาบันที่ทำให้คนต่างท้องถิ่นสามารถร่วมมือกันทางการเมืองได้ ในไทยพรรคการเมืองก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะแต่ละครั้งที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งจะมีการรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมืองเสมอ แม้ในบางสมัยจะไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญก็เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ จึงมีการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคการเมือง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายเป็นทางการก็ตาม อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองของไทยมีบทบาทในวงแคบ คือ มีผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ เป็นนักการเมือง ประชาชนโดยทั่วไปมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองไม่มากนัก
11. การเลือกตั้ง เป็นวิธีการสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตนเพราะเป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชนประเทศไทยเริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2476 แต่การเลือกตั้งไม่ได้มีประจำสม่ำเสมอมีว่างเว้นในระยะที่ใช้รัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราวภายหลังการปฏิวัติ อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งเท่าที่เคยมีมาก็มีลักษณะแบบประชาธิปไตย ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความสะดวก ตลอดจนหลักประกันในการใช้สิทธิใช้เสียง ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบโดยตรง คือ ประชาชนเลือก ส.ส. โดยมีครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คือ ประชาชนเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลไปเลือก ส.ส. อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งที่มีมาเคยใช้ทั้งรวมเขตและแบ่งเขต ระยะหลังมีแนวโน้มที่ใช้ระบบผสมคือ จังหวัดไหนมี ส.ส. จำนวนมากก็ใช้วิธีแบ่งเขต โดยมีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่เขตหนึ่งจะพึงมีเอาไว้ เกินจากนั้นต้องใช้วิธีแบ่งเขต ส่วนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงนั้น เมื่อก่อนมีผู้ไปลงคะแนนมักจะไม่ถึงครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ แต่ในระยะหลัง มีแนวโน้มดีขึ้น คือ มีผู้ใช้สิทธิกว่าครึ่งประมาณร้อยละ 60 อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็ยังมีจุดอ่อน กล่าวคือ มีการซื้อเสียงและใช้เงินในการหาเสียงเกินกว่าที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนดไว้ ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้ไม่ได้ ผู้ที่เป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริงและแนวทางประชาธิปไตยกลายเป็นประโยชน์สำหรับนายทุนและนักธุรกิจแทนที่จะเป็นประชาชน
การเมืองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
ประชาชนไทยมีเสรีภาพทางการเมืองพอสมควร สามารถที่จะแสดงออกทางการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมือง แม้จะยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองมารองรับ เช่น ในกาเลือกตั้งหลายครั้งแม้ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง แต่ในพฤติกรรมความเป็นจริงนั้น ก็มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นพลายพรรค โดยอาศัยเสรีภาพที่ได้รับการยอมรับโดยรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแม่บทการรวมกลุ่มเป็นสมาคมสหภาพ ก็สามารถทำได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น การเดินขบวน หรือการชุมนุมกันเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ก็มีปรากฏและไม่ได้รับการขัดขวางในการแสดงออก ตราบเท่าที่ไม่มีการละเมิดกฎหมาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์และโฆษณา ซึ่งเป็นไปอย่างกว้างขวาง จนน่าจะเป็นที่ยอมรับว่าประเทศไทยนั้น ให้เสรีภาพทางการเมืองแก่ประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศให้กฎอัยการศึก และมีประกาศหรือคำสั่งและกฎหมายบางฉบับจำกัดเสรีภาพในทางการเมืองบ้าง แต่ในทางปฏิบัติก็มีการผ่อนผันและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้จนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการแสดงออกทางการเมือง
ถ้าพิจารณาจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534 และรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ใช้มาก่อนหน้านั้น จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการพัฒนาทางการเมืองของไทยต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีระบบพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมาก เป็นต้นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังกำหนดว่า เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วจะพ้นจากการเป็น ส.ส.ทันทีที่ลาออกหรือถูกขับไล่ออกจากพรรค จึงทำให้พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการในสภา นอกจากนี้ พะราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยังพยายามวางแนวทางให้พรรคการเมืองมีลักษณะเป็นพรรคที่มีฐานสนับสนุนจากมวลชนอย่างกว้างขวาง กล่าวคือต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน และต้องอยู่ในทุกภาค ภาคละไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด จังหวัดหนึ่งต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน
การเมืองระดับท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นระดับ และรูปแบบที่สำคัญนั้นก็ได้มีการเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา หลังจากที่ได้งดเว้นมานาน ปัจจุบันนี้ก็ได้ให้มีการดำเนินการ การปกครองระดับท้องถิ่นในแบบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการเมืองระดับท้องถิ่นนี้ก็ยังไม่สู้ได้รับการสนใจจากประชาชนอย่างกว้างขวางนัก จะเห็นได้จากการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก รูปแบบลักษณะของหน่วยการปกครองท้องถิ่นก็ยังค่อนข้างเป็นไปแบบเดิม คือ ไม่สู้อิสระในการดำเนินการมากนัก ทางการยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมและดำเนินการอยู่และยังได้รับความสนใจอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการที่จะเห็นรูปการเมืองการปกครองไทยพัฒนาไปสู่รูปแบบความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หากประชาชนมีความตื่นตัวและมีความสำนึกทางการเมืองสามารถใช้วิจารณญาณทางการเมืองได้ถูกต้อง สนใจที่จะใช้สิทธิทางการเมืองลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเลือกผู้แทนราษฎรที่ดีเข้าสู่สภา บทบาท และพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ก็จะต้องพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ ทำให้ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแพร่หลายขึ้นและเมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีเสถียรภาพมั่นคงอยู่คู่กับการปกครองไทยตลอดไป
ปัจจุบันนี้จากการพิจารณาบรรยากาศการเมืองไทย อาจกล่าวได้ว่า มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ประชาชนมีความตื่นตัวและมีจิตสำนึกทางการเมืองมากขึ้น จะเห็นได้จากสถิติผู้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะหลังมีจำนวนเกินครึ่งทุกครั้ง (การเลือกตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 มีผู้ไปลงคะแนนจำนวนร้อยละ 50.76 การเลือกตั้งเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ร้อยละ 61.43 การเลือกตั้งเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ร้อยละ 63.56 และการเลือกตั้งเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ร้อยละ 61.59) มีการเผยแพร่ข่าวสารการเมืองอย่างกว้างขวางโดยสื่อมวลชนทุกประเภททั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ทำให้ประชาชนสนใจและเข้าใจการเมืองมากขึ้น แม้ว่าจะยังมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอยู่บ้าง เช่น การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเงินที่เข้ามามีบทบาทสูงในการเลือกตั้ง หรือการที่นักการเมืองบางคน มีบทบาทเป็นนักธุรกิจการเมืองแต่ในการเมืองระบบเปิด และในยุคที่ข่าวสารที่แพร่หลายได้กว้างขวางเช่นทุกวันนี้ ก็คงพอที่จะให้ความเชื่อมั่นได้ว่า ประชาชนจะมีส่วนช่วยควบคุมให้การเมืองพัฒนาไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้กับประชาชนโดยส่วนรวมมากขึ้น เพราะการกระทำที่ไม้ชอบมาพากลของนักการเมืองจะถูกเปิดเผยให้ทราบต่อสาธารณะทำให้ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องระมัดระวัง พฤติกรรมของตนตามสมควร
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่าในระบอบประชาธิปไตย นอกจากกลุ่มนักการเมืองที่รวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองในระดับชาติ หรือกลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่นที่รวมตัวกันเพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้งในระดับต่างๆ แล้วยังต้องการให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนในลักษณะกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอุดมการณ์ กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ที่ไม่ต้องการเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ทำหน้าที่แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาหรือประเด็นการเมืองที่เกิดขึ้น แสงดความต้องการให้ผู้ปกครองรับทราบ ทำให้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องของกลุ่มเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ในการเมืองไทยก็มีกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งที่จัดตั้งเป็นทางการ เช่น สหภาพ สมาคม หรือจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่ม ชมรมต่างๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มเฉพาะกิจ หรือเฉพาะกาลเป็นครั้งคราว เข้ามามีบทบาทในทางการเาองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายตามที่กลุ่มชนต้องการ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นักศึกษา กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา ก็มีการชุมนุมหรือเดินขบวนเพื่อให้ทางการได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มหรือกับส่วนรวมอยู่เสมอ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาพืชผลราคาตกต่ำ ทำให้รัฐบาลต้องตื่นตัวอยู่เสมอในอันที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ตราบเท่าที่ไม่มีการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย เพราะเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการพยายามสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ยังมีสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่จะขาดเสียมิได้ คือ ประชาชนทุกคนต้องมี ขันติธรรม กล่าวคือ สมาชิกในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นผู้มีความอดกลั้น อดทนอย่างยิ่ง ต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่ไม่ตรงกับความเห็นของตนได้ ต้องรอฟังความเห็นส่วนใหญ่จากบรรดาผู้เกี่ยวข้องในการที่จะดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งต้องทนต่อสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ กระบวนการของประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องอาศัยเวลา ต้องค่อยเป็นค่อยไปและต้องมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง สมาชิกของสังคมนี้จึงต้องได้รับการปลูกฝังคุณสมบัติดังกล่าวตั้งแต่เยาว์วัยและพัฒนาขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การปฏิวัติ (การหมุนกลับ การเปลี่ยนแปลงระบบ) หรือการรัฐประหาร (มีการใช้กำลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน) จึงเป็นวิธีการซึ่งขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยและไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาการปกครองระบอบนี้อย่างแน่นอน เพราะทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารจะต้องมีการล้มเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นจึงต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการจัดตั้งรัฐบาลกันใหม่ทุกครั้งไป เป็นเหตุให้ผลประโยชน์ของชาติบ้านเมืองและของประชาชนต้องชะงักงันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น